กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดตำบลตะลุโบะ ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L3011-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 23,660.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาสีเตาะ นิมาปู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์จนถึงหลังคลอด เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดที่ปลอดภัยทั้งแม่และเด็ก ตั้งแต่การดูแลทารกในครรภ์ที่สมบูรณ์ การดูแลแม่ขณะตั้งครรภ์ให้ปลอดภัยป้องการเกิดภาวะเสี่ยง 5 โรค หรือ ในรายถ้ามีภาวะเสี่ยงให้ได้รับการติดตามดูแลที่ถูกต้อง เพื่อการคลอดที่ปลอดภัยอย่างมีคุณภาพมารดาและทารกปลอดภัยและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง โดยใช้หลักฝากครรภ์เร็วทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ฝากครรภ์ต่อเนื่องครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ มารดาทารกหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ มารดาที่มีภาวะเสี่ยง 5 โรค (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ โรคหัวใจและ โรคตกเลือดหลังคลอด) ได้รับการดูแลจากทีมสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว มารดาที่ขาดนัดได้รับการติดตามโดยเร่งด่วน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกินขณะตั้งครรภ์ได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัยและต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัย ซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ ควรให้การเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญารวมถึงควรมีการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ พบว่าหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 76.58 หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 70 หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 8 ครั้งตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 14.95 มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 66.4หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 18.5 หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง 5 กลุ่มโรค ดังนี้ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ไทรอยด์ เสี่ยงตกเลือด จำนวน 20 ราย แม้ว่าการดำเนินงานในปีที่แล้ว มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ผลงานลดลง คือ การย้ายถิ่นออกฐานไป เป้าหมายหญิงตั้งครรภ์ ที่เปลี่ยนไปทุกปี คืออัตราการตั้งครรภ์ในอายุมากกว่า 35 ปี และการตั้งครรภ์บุตรคนที่ 4 เพิ่มมากขึ้นแนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าว คือต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพ หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพและเสริมทักษะการดูแลหลังคลอดที่มีคุณภาพ เพื่อให้ทารกเกิดมามีพัฒนาการตามวัยและการมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กและมารดาหลังคลอดตำบลตะลุโบะ ประจำปี 2567 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี และยังเป็นการสร้างสายใยรักความผูกผันของครอบครัวโดยชุมชน สมาชิกครอบครัวมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาแบบยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
ร้อยละ 80

76.58 80.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์

หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80

70.00 80.00
3 เพื่อลดจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง

หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางน้อยกว่า ร้อยละ 10

18.50 10.00
4 เพื่อให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย

อัตรามารดาตายและเด็กเกิดไร้ชีพเป็น 0

0.00 0.00
5 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ สามีและญาติ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพในระยะตั้งครรภ์ ระยะก่อนคลอด และระยะหลังคลอด

หญิงตั้งครรภ์ สามี และญาติ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพในระยะตั้งครรภ์ ระยะก่อนคลอด และระยะหลังคลอดร้อยละ 90

0.00 90.00
6 เพื่อให้มารดาหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย

เพื่อให้มารดาหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย  0ร้อยละ 80

0.00 80.00
7 เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมมารดาหลังคลอดที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน

มารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย
6 เดือน ร้อยละ 50

0.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,660.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 สร้างกระแส ประชาสัมพันธ์ แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ ฝากครรภ์เมื่อพร้อม การฝากครรภ์เร็วก่อน 12 สัปดาห์ การฝากครรภ์ตามนัดและให้ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ผ่านสื่อไวนิล 0 5,400.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์สามีหรือญาติ 0 9,860.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดอบรมให้ความรู้แก่มารดาหลังคลอด เกี่ยวกับการดูแลด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย และวิธีการใช้พืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการสร้างน้ำนมแม่หลังคลอดเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 0 8,400.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอด 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพได้แก่ ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และได้คลอดในโรงพยาบาล 2.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลตลอดระยะของการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ 3.ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ลูกสมบูรณ์ และมีพัฒนาการสมวัย
4.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้ 5.เพื่อให้ชุมชนและทุกคนในครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีเกิดสายใยรักครอบครัว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2567 16:03 น.