กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการสุขภาพดีวิถีชุมชน ร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยงลดโรค และลดกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ปี 2567

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดีวิถีชุมชน ร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยงลดโรค และลดกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ปี 2567
รหัสโครงการ 67 – L8300 -1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลแว้ง
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 27,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซาหาบูดิง ยะโกะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือที่เรียกว่า “โรควิถีชีวิต” 5 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และ โรคมะเร็ง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องมาจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให้เกิดพฤติกรรมการสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล (ทานหวาน มัน เค็ม มากเกินไป และทานผัก ผลไม้น้อยไป) การเคลื่อนไหวทางกายน้อย การบริโภคยาสูบ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงภาวะเครียด ซึ่งหากไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรควิถีชีวิต พิการ และเสียชีวิตตามมา นอกจากนี้ ยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่างมหาศาล         องค์การอนามัยโลก ออกโรงเตือนว่า โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCD คร่าชีวิตผู้คนถึง 41 ล้านคนต่อปี คิดเป็นสัดส่วน 74% ของการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลก ทั้งที่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมและสามารถป้องกันได้ รายงานฉบับใหม่ขององค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่า โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (noncommunicable diseases - NCD) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลกมากกว่าโรคติดเชื้อไปแล้ว โดยพบว่า แต่ละปีจะมีผู้คนอายุต่ำกว่า 70 ปี ราว 17 ล้านคน ที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร อันเนื่องมาจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCD โดยกลุ่มโรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกมากที่สุด ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด รองลงมา คือ โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง และโรคเบาหวาน “เบนเต มิคเคลเซน” ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ด้านโรคติดต่อไม่เรื้อรัง ย้ำว่าการเสียชีวิตส่วนใหญ่นั้นสามารถป้องกันได้ โดยระบุว่า “ในทุก 2 วินาที จะมีผู้ที่อายุต่ำว่า 70 ปี เสียชีวิตจากโรค NCD” และว่า “หลายคนยังคงไม่รู้ว่า 86% ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เกิดขึ้นกับผู้คนในประเทศรายได้น้อยและปานกลาง ทำให้โรค NCD เป็นประเด็นปัญหาทั้งในด้านความเท่าเทียม การพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับปัญหาด้านสาธารณสุข  ระดับโลก” องค์การอนามัยโลก ระบุปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรค NCD ที่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมและสามารถป้องกันได้ ที่น่ากังวล คือ ความดันโลหิตสูง ที่พบว่าผู้คน 1,300 ล้านคนทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะดังกล่าว แต่หลายคนกลับไม่คิดว่าเป็นภาวะอาการที่อันตรายถึงชีวิต และไม่สามารถเข้าถึงการรักษาที่จำเป็นได้นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งการเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น และการปรับลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพเหล่านี้ จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคร้ายดังกล่าวได้ มิคเคลเซน เสนอว่า “หากผู้คนเข้าถึงบริการสุขภาพที่สามารถตรวจความดันโลหิตและเข้าถึงยารักษาได้ จะช่วยชีวิตผู้คนเกือบ 10 ล้านชีวิตจากภาวะหัวใจวายและภาวะหลอดเลือดสมองได้ภายในปี 2030” และว่าหากทุกประเทศปรับแผนในการป้องกันโรค NCD จะลดการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลกจากโรคนี้ได้อย่างน้อย 39 ล้านคน ภายในปี 2030 ด้วยเช่นกัน
      จากสถิติผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของอำเภอแว้งประจำปี พ.ศ.2564 โดยมีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 5,392 คน สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี (กลุ่มป่วย) จำนวน 2,702 คน คิดเป็นร้อยละ 50.11 มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 1,858 คน คิดเป็นร้อยละ 18.58 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี (กลุ่มป่วย) จำนวน 322 คน คิดเป็นร้อยละ 17.33 และสถิติผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของอำเภอแว้งประจำปี 2565 มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 5,417 คน สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี (กลุ่มป่วย) จำนวน 2,582 คน คิดเป็นร้อยละ 47.68 มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 1,881 คน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี (กลุ่มป่วย) จำนวน 308 คน คิดเป็นร้อยละ 16.37  ส่วนเขตรับผิดชอบกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและ องค์รวม โรงพยาบาลแว้ง โดยรับผิดชอบ หมู่ที่ 1, 2, 5, 6 และหมู่ที่ 7 ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส จากสถิติผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเขตรับผิดชอบกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลแว้ง ประจำปี พ.ศ.2564 มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 974 คน สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี (กลุ่มป่วย) จำนวน 294 คน คิดเป็นร้อยละ 30.18 และมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 353 คน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี (กลุ่มป่วย) จำนวน 81 คน คิดเป็นร้อยละ 22.95 และจากสถิติผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเขตรับผิดชอบกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลแว้ง ประจำปี พ.ศ.2565 มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1005 คน สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี (กลุ่มป่วย) จำนวน 294 คน คิดเป็นร้อยละ 29.25 และมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 368 คน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี (กลุ่มป่วย) จำนวน 81 คน คิดเป็นร้อยละ 22.01 โรงพยาบาลแว้ง จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรควิถีชีวิต จึงผลักดันให้เกิดความร่วมมือบูรณาการกันระหว่างกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง ภายใต้แผนงานป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (DM, HT) เป้าหมาย คือ การลดปัจจัยเสี่ยงและลดโรควิถีชีวิตในประชาชน กลวิธีสำคัญ ได้แก่ การคัดกรองประชาชน แล้วแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน โดย กลุ่มปกติ จะเน้นให้คำแนะนำสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่ดื่มสุรา และไม่สูบบุหรี่) และ 1ฟ. มีการติดตามตรวจคัดกรองซ้ำปีละครั้ง กลุ่มเสี่ยง จะเน้นให้คำปรึกษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันไม่ให้ป่วย และติดตามตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตเป็นระยะๆ กลุ่มผู้ป่วยจะเน้นจัดระบบในการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตรวจภาวะแทรกซ้อน และบริการดูแลรักษาเชื่อมโยงระหว่าง รพ.สต. กับโรงพยาบาลชุมชน และเชื่อว่าจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ลดผู้ป่วยรายใหม่ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ไปจนถึงลดการเสียชีวิตและการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจลงได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราผู้ป่วยใหม่จากกลุ่มเสี่ยงสูง และลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วย

อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ลดลงร้อยละ 20

20.00
2 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และเหมาะสม

ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเองและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่ถูกต้องเหมาะสมร้อยละ 90

90.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพ และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชุมชนมีกิจกรรมด้านการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพร้อยละ 90

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567 09:32 น.