กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L3348-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.รพสต.ในนิคมฯบ้านลานข่อย
วันที่อนุมัติ 12 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 9,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอารียา คงหนองช้าง
พี่เลี้ยงโครงการ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลลานข่อย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.831,99.78place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ และการดูแลหลังคลอด เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน และมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปัญหางานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญและเด่นชัด คือ การมาฝากครรภ์ช้าอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ มีภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ มารดาตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยง และมารดาหลังคลอดไม่มีความรู้ด้านการวางแผนครอบครัว จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในนิคมฯบ้านลานข่อย ปี 2563 – 2565 พบว่าผลการดำเนินงานยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด หากหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางจะส่งผลกระทบทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ส่งผลให้ทารกคลอดก่อนกำหนด คลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม พัฒนาการล่าช้า มารดาตกเลือดและติดเชื้อหลังคลอด และพบมารดาตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เช่น เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีประวัติผ่าตัดคลอดเพิ่มมากขึ้น ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาในระยะยาวและต่อเนื่อง แนวทางการการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวคือต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพและเสริมทักษะการดูแลหลังคลอด และทารกควรได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ตอบสนองความต้องการของเด็กทุกด้านตามวัย การมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ชมรม อสม. และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในนิคมฯบ้านลานข่อย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ประจำปี 2567 เพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดและทารกหลังคลอด เพื่อลดปัญหาดังกล่าว และเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อดูแลสุขภาพติดตามเยี่ยมกลุ่มหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงและหญิงหลังคลอด จำนวน 30 คน 2.สามารถนำการปฏิบัติงานจากโครงการมาบันทึกเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา

1.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ 2.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง
ได้รับการเฝ้าระวังป้องกัน ไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ 3.อสม.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง สามารถประเมินภาวะผิดปกติ
และส่งต่อทันท่วงที 4.ผลการดำเนินโครงการสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมและแก้ไขปัญหาสุขภาพรายบุคคลได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้(1 ต.ค. 2566-30 ก.ย. 2567) 0.00                        
2 ออกประเมินเชิงรุก(1 ต.ค. 2566-30 ก.ย. 2567) 0.00                        
รวม 0.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 ออกประเมินเชิงรุก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ
2.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการเฝ้าระวังป้องกัน ไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
3.อสม.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง
สามารถประเมินภาวะผิดปกติและส่งต่อทันท่วงที

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567 10:22 น.