กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาพเด็กปฐมวัย สอน.บ้านควนปอม ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L3340-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯบ้านควนปอม
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 27,105.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจุฬาภรณ์ เหตุทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกทราย อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.229,100.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โภชนาการที่ดีเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง 5 ปี หรือ 2,500 วันแรกของชีวิต ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติของการพัฒนาสมองและการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงวัยของทารก จะช่วยสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบกระดูก ระบบต้านทานดรค วัยวะภายในของร่างกาย ให้สมบูรณ์ ส่งผลต่อการเจริญเติบโต องค์ประกอบของร่างกาย และการทำหน้าที่ของระบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ โดยดูจากเด็กที่มีส่วนสูงอยู่ในระดับดีขึ้นไป (ส่วนสูงตามเกณฑ์ ค่อนข้างสูง และสูง จากกราฟส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ) และมีน้ำหนักอยู่ในระดับสมส่วน (จากกราฟน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง) เป็นการดูการเจริญเติบโตทั้งส่วนสูงและน้ำหนักพร้อมกันในเด็กคนเดียวกัน ซึ่งจะใช้คำว่า “เด็ก 0-5 ปี สูงดีสมส่วน” เด็กสูงจะทำให้มีระดับเชาว์ปัญญาดี มีความสามารถในการเรียนรู้ และประโยชน์ของการส่งเสริมให้เด็กสูงดีสมส่วนทำให้สามารถลดปัญหาด้านสาธารณสุข เช่น ลดปัญหารการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอันเนื่องมาจากร่างกายขาดสารอาหาร ลดความเสี่ยงต่อโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในผู้ใหญ่ ลดค่ารักษาพยาบาล ตัดวงจรของการถ่ายทอดการขาดสารอาหารและโรคเรื้อรังในรุ่นลูกรุ่นหลาน เป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีต่อไป ด้านการศึกษา ทำให้เด็กมีระดับเชาว์ปัญญาดี ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ด้านสังคม ทำให้เด็กมีศักยภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต (สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2560)       ในปีงบประมาณ 2566 สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านควนปอม พบเด็กปฐมวัยมีภาวะทุพโภชนาการ แยกแต่ละด้าน ดังนี้ 1) ผอม ร้อยละ 3.412) ค่อนข้างผอมร้อยละ 5.11 3) เตี้ย ร้อยละ 11.93 4) ค่อนข้างเตี้ย 7.95 และ 5) น้ำหนักเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 9.09 (ข้อมูล HDC ไตรมาสที่ 4, 2566) และพบมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 91.53 ซึ่งแยกเป็น สมวัยในครั้งแรก ร้อยละ 7.45 สมวัยหลังได้รับการกระตุ้น ร้อยละ 18.08 พัฒนาการสงสัยล่าช้าที่ต้องได้รับการกระตุ้นภายใน 30 วัน ร้อยละ 21.21 และส่งต่อโรงพยาบาลเพื่อไปรับการรักษาต่อเนื่อง ร้อยละ 1.81 (ข้อมูล HDC, 2566) จากสถานการณ์ดังกล่าว สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านควนปอม จึงเห็นควรที่จะจัดทำโครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาพเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาพในเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ครอบคลุมทั้งด้าน ร่างกาย จิตวิญญาณ และสังคมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาพเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการและพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 90

90.00
2 เพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้ในการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาพในเด็กปฐมวัยแก่แกนนำ อสม. และผู้ปกครอง

แกนนำ อสม. และผู้ปกครองมีทักษะและความรู้ในการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาพในเด็กปฐมวัย ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีแกนนำการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาพเด็กปฐมวัยในชุมชน
  2. ผู้ปกครองมีทักษะ ความรู้ความเข้าใจ ในการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาพเด็กปฐมวัย
  3. เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาพตามเกณฑ์และสมวัย
  4. มีครอบครัวต้นแบบด้านการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาพเด็กปฐมวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567 12:16 น.