กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้การป้องกันการจมน้ำ ผู้ก่อการดี สร้างความปลอดภัยทางน้ำ สอน. บ้านควนปอม ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L3340-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯควนปอม
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 20,560.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจุฬาภรณ์ เหตุทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกทราย อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.229,100.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันอุบัติเหตุจากการจมน้ำยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ซึ่งสาเหตุดังกล่าวยังเป็นอันดับแรกของการเสียชีวิตของเด็กส่วนใหญ่ของประเทศไทย จากข้อมูลรายงานกระทรวงสาธารณสุขว่า ข้อมูลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2561-2566) มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเสียชีวิตในช่วงฤดูร้อน ซึ่งตรงกับช่วงปิดเทอม ระหว่างเดือนมี.ค.-พ.ค.นี้ 953 คน เฉลี่ยวันละ 2 คน และในพื้นที่เขตรับผิดชอบ สอน.บ้านควนปอม มีเด็กจมน้ำเสียชีวิต จำนวน 3 ราย โดยเฉพาะช่วงเดือนเม.ย.พบเหตุการณ์จมน้ำมากที่สุด 65 คน รองลงมาคือ เดือนมี.ค. 64 คนและเดือนพ.ค. 63 คน ส่วนมีจังหวัดที่มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากกว่า 10 คนถึง 40 จังหวัด เสียชีวิต 6-10 คน มี 19 จังหวัด เสียชีวิต 2-5 รายมี 16 จังหวัด และมีเพียง 2 จังหวัดที่เสียชีวิตน้อยกว่า 2 คน แหล่งน้ำที่พบว่าเด็กจมน้ำมากที่สุด คือ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ ร้อยละ 76.5 เขื่อน อ่างเก็บน้ำฝาย ร้อยละ 11.1 ทะเล ร้อยละ 5.3) ภาชนะภายในบ้าน ร้อยละ 3.5 และสระว่ายน้ำสวนน้ำ ร้อยละ 1.8 โดยสาเหตุหลักเกิดจากการเล่นน้ำมากที่สุด ร้อยละ 59.4 รองลงมา คือ พลัดตกลื่น ร้อยละ 21.5 (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, มีนาคม 2566) จากมูลเหตุดังกล่าว การป้องกันการจมน้ำของเด็กควรมีมาตรการในการดำเนินงานให้ครอบคลุมปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการจมน้ำทั้งทางด้านปัจจัยตัวบุคคลและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ก่อการดี (MARIT MAKER) เป็นแนวทางการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำที่ครอบคลุมในมาตรการป้องกันด้านต่าง ๆ ที่สำคัญและเป็นกลยุทธ์ที่กระตุ้นให้พื้นที่เกิดการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำแบบสหสาขาต่อเนื่องและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากจะป้องกันการเสียชีวิตหรือลดอัตราการตายจากการจมน้ำของเด็ก เพื่อเป็นการป้องกันและการเฝ้าระวังปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ จึงต้องให้นักเรียนและประชาชนทั่วไป มีทักษะการว่ายน้ำ สามารถช่วยเหลือตนเองให้สามารถว่ายน้ำ และรอดจากการเสียชีวิตจากการจมน้ำได้ จำเป็นจะต้องฝึกหัดให้ได้ฝึกหัดว่ายน้ำหรือว่ายน้ำเป็น และเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีช่วยชีวิตคนจากการจมน้ำแบบวิธีช่วยเหลือมาตรฐานสากล โดยใช้อุปกรณ์ใกล้มือ ดังนั้น เพื่อให้เห็นความสำคัญของปัญหาการจมน้ำและการช่วยเหลือชีวิตจากการจมน้ำทั้งในเด็กและประชาชนทั่วไป ในการป้องกันดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ บ้านควนปอม จึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้การป้องกันการจมน้ำ ผู้ก่อการดี สร้างความปลอดภัยทางน้ำ สอน. บ้านควนปอม ประจำปี 2567 เพื่อการพัฒนาการดำเนินการป้องกันการจมน้ำต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ในการป้องกันการจมน้ำ

ครู เด็กนักเรียน และประชาชน มีความรู้ในการป้องกันการจมน้ำ ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อสอนและฝึกปฏิบัติให้ครูนักเรียน สามารถช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำได้อย่างถูกต้อง ตามมาตรฐานสากล

เพื่อให้เกิดการดำเนินงานป้องกันการจมน้ำในทุกมาตรการ

90.00
3 เพื่อสอนและฝึกปฏิบัติให้ครูนักเรียน สามารถช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำได้อย่างถูกต้อง ตามมาตรฐานสากล

ครู นักเรียน และประชาชนสามารถช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางน้ำได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567 12:32 น.