กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค หนูน้อยปฐมวัย
รหัสโครงการ 67-L4159-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ
วันที่อนุมัติ 9 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 เมษายน 2567 - 30 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2567
งบประมาณ 14,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแสงนา บุญชิต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ม.4 ม.5 ม.6 ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ก.ค. 2567 10 พ.ค. 2567 14,100.00
รวมงบประมาณ 14,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์
20.00
2 เด็กอายุ 0-5 ปี มีภาวะทุพโภชนาการ
20.00
3 เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการคัดกรองพัฒนาการไม่ครบตามช่วงอายุ
10.00
4 เด็กอายุ 3-5 ปี มีฟันน้ำนมผุ
10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิต เป็นช่วงวัยที่พัฒนาการด้านต่างๆ จะพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและเป็นรากฐานที่สำคัญของช่วงวัยต่อๆ ไป เด็กวัยนี้จึงเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของประเทศ ถ้าเด็กปฐมวัยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม จะสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไป ดังคำกล่าวของศาสตราจารย์ ดร.เจมส์ เจ เฮคแมน นักเศรฐศาสตร์รางวัลโนเบลปี พ.ศ. 2552 ที่ว่า "การลงทุนพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและให้ผลตอบแทนแก่สังคมดีที่สุด" การได้รับบริการด้านสุขภาพทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านโภชนาการและการเจริญเติบโต (Diet) ด้านพัฒนาการ (Development) ด้านทันตสุขภาพ (Dental) และด้านการป้องกันโรค (Diesease) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนควรได้รับการชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง เพื่อประเมินการเจริญเติบโต การตรวจประเมินพัฒนาการเพื่อค้นหาเด็กพัฒนาการล่าช้าและทำการกระตุ้นพัฒนาการได้ทันเวลา การตรวจช่องปากและฟันเพื่อป้องกันฟันผุ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและการรับประทานอาหารของเด็ก และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคขั้นพื้นฐานครบทุกชนิดตามช่วงอายุที่กำหนด เพราะโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เด็กไทยจำนวนมากต้องได้รับผลกระทบ ทั้งการเจ็บป่วย พิการ จนบางครั้งอาจส่งผลถึงขั้นเสียชีวิต จากการดำเนินงานด้านการดูแลสุขภาพเด็กอายุ 0-5 ปี ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ในปีงบประมาณ 2564 - 2566 พบปัญหาดังนี้ 1.เด็กอายุ 0-5 ปี มีรูปร่างสูงดีสมส่วน ร้อยละ 28.57 , 79.11 , และ 45.39 ตามลำดับ (เกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 67)
2.เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการตรวจพัฒนาการ ร้อยละ 58.83 , 98.50 และ 87.07 ตามลำดับ (เกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90)
3.อัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี ร้อยละ 69.98 , 53.81 และ 67.22 ตามลำดับ (เกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90)
4.เด็กอายุ 3-5 ปี ฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 53.85 , 50.00 และ 38.10 ตามลำดับ (เกณฑ์ ไม่มากกว่าร้อยละ 48)
จากสภาพปัญหาข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และมีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ การส่งเสริมสุขภาะและป้องกันโรค หนูน้อยปฐมวัย เพื่อให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 0-5 ปี ได้รับการดูแลสุขภาพทั้ง 4 ด้าน ได้อย่างครบถ้วน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านการป้องกันโรคด้านวัคซีน

ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านการป้องกันโรคด้วยวัคซีน

20.00 18.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อส่งเสริมผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี ให้มีความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาการของเด็กตามช่วงอายุ

ร้อยละ 90 ของผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านพัฒนาการเด็กตามช่วงอายุ

10.00 9.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,100.00 0 0.00
17 เม.ย. 67 - 30 มิ.ย. 67 ประชุมเพื่อหาแนวทางการดำเนินงานชี้แจงผู้ปฏิบัติงาน อสม.และผู้นำชุมชน 0 0.00 -
17 เม.ย. 67 - 30 มิ.ย. 67 การอบรมให้ความรู้ในรูปแบบบูรณาการ 0 14,100.00 -
17 เม.ย. 67 - 30 มิ.ย. 67 ติดตามเด็กที่ขาดนัดวัคซีนและพัฒนาการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็ก 0 - 5 ปีได้รับการดูแลพัฒนาการ ส่งเสริมป้องกันโรคด้วยวัคซีน
2.เด็ก 0-5 ปี มีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการสมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567 13:50 น.