โครงการอบรมให้ความรู้การป้องกันและดูแลสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ประจำปีงบประมาณ 2567
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมให้ความรู้การป้องกันและดูแลสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ประจำปีงบประมาณ 2567 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง |
วันที่อนุมัติ | 2 ตุลาคม 2566 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 23,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
คนไทยกว่า 10.5 ล้านคนป่วยด้วยโรคที่เชื่อมโยงกับมลพิษทางอากาศในปี 2566 ถือว่าเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ถึง 116% ซึ่งเป็นข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ซึ่งแม้แต่ปัจจุบันเอง คุณภาพอากาศของประเทศไทยก็ย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่เริ่มปี 2567 เป็นต้นมา มีรายงานการเผาตอซังข้าวและไฟป่า โดยเฉพาะในพื้นที่ทางตอนเหนือของไทย ก่อให้เกิดควันพิษ กระจายไปยังหลายพื้นที่ รวมถึงกรุงเทพมหานคร ซึ่งจังหวัดปัตตานีได้รับแจ้งว่าปัจจุบันได้เกิดสถานการณ์หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เกินค่ามาตรฐานขึ้นในหลายพื้นที่ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชนก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและร่างกายของประชาชน ปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองทำให้คนที่อยู่ในที่โล่งนานๆมีอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล คอแห้งระคายคอ หายใจติดขัด เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก ซึ่งฝุ่นขนาดเล็กเป็นทั้งสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอันตรายต่อปอดและระบบทางเดินหายใจ สาเหตุหลักคือการสูบบุหรี่ รองลงมาจากมลพิษทางอากาศ ได้แก่ โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด สถานการณ์ดังกล่าวมีสาเหตุมาจากหลายๆปัจจัย เช่น การขนส่งและการจราจร การเกิดไฟป่า การเผาในที่โล่งแจ้ง การก่อสร้างที่ไม่มีการควบคุมการฟุ้งกระจายของฝุ่น เป็นต้น ปัญหาการเกิดหมอกควันและฝุ่นละอองในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง มาจากปัจจัยหลายๆอย่าง ได้แก่ควันพิษจากโรงงาน การขนส่งและการจราจร และการเผาในที่โล่ง (Open Burning) ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเผาขยะ การเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกในช่วงฤดูฝน การเผาพื้นที่เพื่อประโยชน์ต่อการทำการเกษตร นอกจากจะส่งผลกระทบด้านสุขภาพแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินที่อยู่พื้นที่ใกล้เคียง จากปัจจัยที่กล่าวข้างต้นล้วนก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพกับประชาชน ซึ่งฝุ่นขนาดเล็กเป็นทั้งสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอันตรายต่อปอดและระบบทางเดินหายใจ สาเหตุหลักคือการสูบบุหรี่ รองลงมาจากมลพิษทางอากาศ ได้แก่ โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด ด้วยเหตุผลข้างต้นสำนักปลัด องค์การบรหารส่วนตำบลตะบิ้ง จึงจัดทำโครงการป้องกันและดูแลสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคทางเดินหายใจจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)
2. เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง มีความเข้าใจ เกิดการตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากอันตรายของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 23,050.00 | 0 | 0.00 | |
2 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้โครงการป้องกันและดูแลสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ประจำปีงบประมาณ 2567 | 0 | 23,050.00 | - |
1.สามารถป้องกันการเกิดโรคทางเดินหายใจจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) 2.ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง มีความเข้าใจ เกิดการตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากอันตรายของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2567 10:16 น.