กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดยุงป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุง
รหัสโครงการ 67-L3060-5-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลละหาร
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 107,685.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนารีมาศ เจ๊ะสนิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละหาร อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.659,101.627place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

3.หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     โรคไข้เลือดออกถือได้ว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งความรุนแรงของโรคสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้แม้จะมีการรณรงค์ให้มีการป้องกัน ควบคุม ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรค ภาครัฐและเอกชนอยู่เป็นประจำ แต่ก็ไม่สามารถทำให้โรคนี้หมดไปจากสังคมไทยของเราได้เลย การรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันกำจัดยุงลาย โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง การใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ หรือการพ่นหมอกควัน กรมควบคุมโรคได้ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบว่า มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลังอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ. 2564 – 2565) จึงมีโอกาสที่ในปี พ.ศ. 2567 จะเกิดการระบาดมากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีอาจมีผู้ป่วยสูงถึง 95,000 ราย โดยช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้มพบจำนวนผู้ป่วยประมาณ 3,000 - 4,000 รายต่อเดือน และเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคมจนสูงที่สุดประมาณ 10,000 - 16,000 รายต่อเดือนในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายน - กันยายน) การดูแลสุขภาพอนามัยประชาชนในพื้นที่และการป้องกันดูแลไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งในปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล จึงจำเป็นต้องมีการเริ่มดำเนินการให้รวดเร็ว ให้ทันต่อสภาวการณ์แพร่ระบาดของโรค เพื่อควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก องค์การบริหารส่วนตำบล ละหาร จึงได้จัดทำโครงการกำจัดยุงป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือโรคไข้เลือดออก อีกทั้งยังเป็นการลดโอกาสการถูกยุงลายกัด ลดความเสี่ยงของประชากรในชุมชนต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2567 11:11 น.