กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียน
รหัสโครงการ 67-L4159-02-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ
วันที่อนุมัติ 9 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 เมษายน 2567 - 30 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2567
งบประมาณ 17,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพาตีเม๊าะ ซาแม็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านจำปูน และ โรงเรียนวัดรังสิตาวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 มิ.ย. 2567 11 มิ.ย. 2567 17,400.00
รวมงบประมาณ 17,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคติดต่อเป็นโรคที่ต้องมีการเฝ้าระวัง และควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจาย โดยเฉพาะในสถานศึกษา หากมีการระบาดของโรคในโรงเรียน จะทำให้เกิดการสูญเสีย
84.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อหลายๆ โรค นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะโรคติดต่อที่ทำให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ ป้องกัน และควบคุมโรคมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคติดต่อยังมีแนวโน้มสูงขึ้น และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา โรคติดต่อเป็นโรคที่ต้องมีการเฝ้าระวัง และควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจาย โดยเฉพาะในสถานศึกษานับว่าเป็นสถานที่สำคัญเนื่องจากมีประชาชนเป็นกลุ่มก้อน เมื่อเกิดโรคติดต่อหรือโรคระบาดจะส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอน ดังนั้นการป้องกันก่อนการเกิดโรคเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งโรคติดต่อที่ต้องมีการเฝ้าระวังในสถานศึกษา ได้แก่ โรคมือ เท้า ปาก โรคสุกใส โรคตาแดง โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก โรคโควิด-19 เป็นต้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในสถานศึกษา ต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องร่วมมือกัน และต้องมีความรู้ความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคในสถานศึกษา ดังนั้นดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียน ได้ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรค รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคในครัวเรือน และชุมชน ส่งผลให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคติดต่อ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อ

ร้อยละ 90 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อในโรงเรียนได้

80.00 72.00
2 2.เพื่อสร้างกระแสความร่วมมือของนักเรียน ครู และองค์กรต่างๆ ในชุมชน ในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อทำลายแหล่งโรค ลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในเด็กนักเรียน

ร้อยละ 100 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และแหล่งรังโรคในโรงเรียนได้

80.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,400.00 0 0.00
17 เม.ย. 67 - 30 มิ.ย. 67 ประชุมเพื่อหาแนวทางการดำเนินงาน และชี้แจงผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ 0 0.00 -
17 เม.ย. 67 - 30 มิ.ย. 67 อบรมให้ความรู้ เรื่องการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อในโรงเรียน 0 17,400.00 -
17 เม.ย. 67 - 30 มิ.ย. 67 รณรงค์การทำลายแหล่งเพาะพันธ์โรคและแหล่งรังโรคในโรงเรียน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนสามารถนำวิธีการป้องกันโรคติดต่อกลับมาใช้ที่บ้านและในชุมชนได้ 2.ลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อทั้งในโรงเรียนและในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2567 11:53 น.