กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อย.น้อย ตาไว รู้ทันภัยสุขภาพ ปี 2567 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตะโหมด
รหัสโครงการ 2567-L3328-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตะโหมด
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 9,476.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพิลือ เขียวแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตะโหมด
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 9,476.00
รวมงบประมาณ 9,476.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันมีสินค้าอุปโภคและบริโภค รวมทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ออกวางจำหน่ายหลายชนิดหลายยี่ห้อ ให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้ มีทั้งที่มีประโยชน์และมีโทษโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมในชุมชนมีการแพร่กระจายเป็นจำนวนมาก เช่น ตรวจพบยาอันตรายที่จำหน่ายในร้านขายของชำ ตรวจพบเครื่องสำอางที่มีสารห้ามใช้ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ขายตามตลาดนัด หรือช่องทางออนไลน์ ซึ่งประชาชนอาจเกิดอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ การมีเครื่องมือที่เป็นตัวกลางการสื่อสารระหว่างประชาชนกับหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค จะช่วยแก้ปัญหาการแพร่กระจายของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมในชุมชนได้อย่างตรงจุดมากขึ้นช่วยลดผลกระทบทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนได้
การดำเนินงานเครือข่ายผู้บริโภคของอำเภอตะโหมด ได้ดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่องโดยโรงเรียนก็เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายผู้บริโภค ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการร่วมกันแก้ปัญหาด้านการบริโภคอำเภอตะโหมด
ดังนั้น จึงจัดทำโครงการ อย.น้อย ตาไว รู้ทันภัยสุขภาพ ปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือการจัดอบรมให้ความรู้แก่ ครู นักเรียน อย.น้อย ได้มีความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ ในการรายงาน ติดตาม และเฝ้าระวัง ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนในชุมชน อย่างถูกต้องเหมาะสม ผ่านระบบ TaWai Chat Bot และเพื่อให้เกิดต้นแบบระบบและแนวทางการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน โดย “TaWai” เป็นเครื่องมือและระบบจัดการความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและการโฆษณา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ผลิตภัณฑ์ต้องสงสัย ผลิตภัณฑ์ที่มีการโฆษณาเกินจริง ในส่วนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือการดำเนินงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคสามารถเข้าถึงและครอบคลุมประชาชนในเขตอำเภอตะโหมดมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพมากขึ้นด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะการดำเนินกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่เครือข่ายผู้บริโภคตัวน้อย (อย.น้อย) ทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติงานให้มีศักยภาพมากขึ้น

ประมวลผลจากแบบสอบถามหลังการอบรมและจากการฝึกปฏิบัติ

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ ในการรายงาน ติดตาม และเฝ้าระวัง ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนในชุมชน อย่างถูกต้องเหมาะสม ผ่านระบบ TaWai Chat Bot.....

ประมวลผลจากแบบสอบถามหลังการอบรมและจากการฝึกปฏิบัติ

0.00
3 เพื่อให้การดำเนินงานด้านเครือข่ายผู้บริโภคเกิดความต่อเนื่องและเข้มแข็ง

ประมวลผลจากการรายงาน ติดตาม และเฝ้าระวัง ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนในชุมชน ผ่านระบบ TaWai Chat Bot..

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,476.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 0 9,476.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชมรม อย.น้อย มีการพัฒนาศักยภาพความรู้ความสามารถของสมาชิกมากขึ้น
  2. เกิดความร่วมมือร่วมใจจากเครือข่ายผู้บริโภค ๓. ประชาชนอำเภอตะโหมดมีพฤติกรรมในการบริโภคที่ถูกต้องและปลอดภัยมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2567 10:28 น.