กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน
รหัสโครงการ 67-L5292-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งบุหลัง
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพงศกร มาลาสัย
พี่เลี้ยงโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.034567,99.685949place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2567 31 ส.ค. 2567 15,800.00
รวมงบประมาณ 15,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 125 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1,000 วันแรกของชีวิต ถือเป็นต้นกำเนิดของการสร้างรากฐานการมีภาวะสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิต โดยเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งนับเป็นโอกาสทองของการสร้างมนุษย์ที่สำคัญ    และคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมอง และมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายอย่างรวดเร็ว ส่วนสูงของเด็กที่อายุ 2-3 ปี ถือเป็น Proxy indicator ของสุขภาพผู้ใหญ่และเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญ ตำบลมหัศจรรย์ 1000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน 1 กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้ขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิต ตั้งแต่แต่ปี พ.ศ. 2560 มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพของสตรีและปฐมวัยไทย โดยมีชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ ร่วมลงทุนและเป็นเจ้าของการขับเคลื่อนงานผ่านกลไกและมาตรการ ที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมสำคัญ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน การพัฒนาคุณภาพ งานบริการสาธารณสุข ทั้งคลินิกฝากครรภ์(ANC)และคลีนิคเด็กสุขภาพดี(WCC) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็ก 0–2 ปี ทุกคน  ได้รับบริการครบถ้วนและดูแลอย่างทั่วถึงโดยไม่ทอดทิ้ง กลุ่มด้อยโอกาส และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับภาคีเครือข่ายภายใต้ การบูรณาการความร่วมมือ กลุ่มเด็กปฐมวัย 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการร่วมขับเคลื่อน การดำเนินงาน จากข้อมูล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งบุหลัง ปี 2566 พบว่า กิจกรรม เกณฑ์คุณภาพ  (ร้อยละ) เกณฑ์คุณภาพที่ทำได้ (ร้อยละ) 1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ 90 75 2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง 90 50 3. หญิงหลังคลอดได้การดูแลครบ 3 ครั้ง 90 66.67 4. ภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ 7 25 5. อัตราทารกคลอดน้ำหนัก ≤ 2,500 กรัม 10 14.81 6. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก 100 96.21 ข้อมูลจาก HDC ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งบุหลัง จึงได้จัดทำโครงการโครงการมหัศจรรย์  1000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน โดยการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต      ที่เป็นเครือข่ายจากทุกภาคส่วน ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการที่จำเป็น        ให้แก่กลุ่มเป้าหมายตามโครงการ สร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสุขภาพมารดาตั้งแต่ตั้งครรภ์  จนถึงอายุ 5 ปี รวมถึง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีสุขภาพร่างกาย    ที่สมบูรณ์แข็งแรงทั่งร่างกายและจิตใจ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. มีการค้นหา หญิงตั้งครรภ์ ให้มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และหญิงตั้งครรภ์ ทุกคนได้รับสมุดบันทึก สุขภาพแม่และเด็ก เมื่อมาฝากครรภ์ ครั้งแรก
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์และฝากครรภ์ทันทีเมื่อตั้งครรภ์ (อายุครรภ์ก่อน 12  สัปดาห์)    ร้อยละ 90
2 2. เพื่อเฝ้าระวังส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ มีสุขภาพแข็งแรงปลอดภัยจากการตั้งครรภ์และการคลอด
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรองความเสี่ยง        ร้อยละ 100
  2. ส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงปลอดภัยจากการตั้งครรภ์และการคลอด  ร้อยละ100
  3. ร้อยละของทารก แรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม น้อยกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 7.00 4.หญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด ไม่เกินร้อยละ 7
3 3.เพื่อเฝ้าระวังและส่งเสริม การเจริญเติบโตเด็กปฐมวัย
  1. มีการส่งเสริมการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ ร้อยละ 60
  2. การคัดกรอง และส่งเสริมพัฒนาการ เด็กปฐมวัย        ร้อยละ 90
  3. ร้อยละเด็ก อายุ 0 – 5 ปี สูงดีสมส่วนมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 64.00 4.ร้อยละเด็ก อายุ 0 – 5 ปี พัฒนาการสมวัยมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 85.00
4 1. เพื่อให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นตอนการวางแผน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินโครงการ - แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนโครงการ - ประสานงานในการจัดหาสถานที่ในการจัดกิจกรรม โครงการ จัดหาวิทยากรให้ความรู้ ๒.        2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วน ตำบลทุ่งบุหลัง       ๓. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ประชาสัมพันธ์โครงการ ให้กลุ่มเป้าหมายทราบแผนการดำเนินงาน           - จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติแก่กลุ่มเป้าหมาย
๔. สรุปประเด็นทั้งหมดพร้อมทั้งประเมินผลการจัดกิจกรรม
๕. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟันตามนโยบาย มหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วันระดับ รพ.สต.                                                                    2. หญิงมีครรภ์และทารกในครรภ์มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด หลังคลอด
        3. เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและส่งเสริมการเจริญเติบโตเด็กและพัฒนาการสมวัยกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพและได้ออกกำลังกาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2567 10:53 น.