กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง PCUบ้านนา
รหัสโครงการ 67-L8367-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลจะนะ
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 23,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหมัด หีมเหม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 23,150.00
รวมงบประมาณ 23,150.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดี ร้อยละ 27
0.00
2 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 32
0.00
3 ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 50
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจและสังคมทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ  ค่าครองชีพสูงขึ้น ประชาชนมีรายได้น้อย วิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนไป เกิดพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสม ออกกำลังกายน้อยลงทำให้เกิดโรคต่างๆตามมามากมาย โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ คือโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 5 ล้านคน อัตราป่วยต่อแสนประชากร 860.53 ส่วนโรคเบาหวานพบประมาณ 3 ล้านคน อัตราป่วยต่อแสนประชากร 675.74 (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2565) ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบ้านนา พบว่าโรคเรื้อรัง 2 อันดับโรคแรก คือโรคความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่ไม่หายขาด แต่สามารถทำให้อาการทุเลาลง โดยรับการรักษาต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ 2566 ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มีประชาชนซึ่งป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 650 ราย และรับยาต่อเนื่องที่ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบ้านนา จำนวน 40 ราย และโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 1,356รายและรับยาต่อเนื่องที่ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบ้านนา จำนวน 140 ราย ซึ่งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานทั้งหมดในพื้นที่เขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบ้านนาเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปีและเกิดโรคแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ป่วย ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคและลดความแออัดผู้ป่วยที่รับยาโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลจะนะ ทางศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบ้านนาเห็นความสำคัญที่จะต้องดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าว ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง PCUบ้านนา ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมค่าน้ำตาลในเลือดได้ดี ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมค่าความดันโลหิตได้ดีและผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ที่เป็นส่วนสำคัญในกระบวนการรักษาโรคเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมค่าน้ำตาลในเลือดได้ดี

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมค่าน้ำตาลในเลือดได้ดี มากกว่าร้อยละ 40

2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมค่าความดันโลหิตได้ดี

2.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมค่าความดันโลหิตได้ดี มากกว่าร้อยละ 60

3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกัน

3.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ใน การดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน มากกว่าร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี
  3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
  4. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2567 11:36 น.