กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าเรือ ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L2978-02-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลท่าเรือ
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 31 ธันวาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2567
งบประมาณ 62,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจำเนียร สังข์สมบูรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.78,101.053place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2567 31 ธ.ค. 2567 62,900.00
รวมงบประมาณ 62,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย มักระบาดในช่วงหน้าฝนโดย มีพาหะของโรคคือยุงลาย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กวัยเรียน บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ในปีงบประมาณ 2566 พื้นที่ตำบลท่าเรือเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง จำนวน 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 ,หมู่ที่ 4 และ หมู่ที่ 8 จำนวน 27 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 ธันวาคม 2566) และปัจจุบันได้เกิดโรคระบาดรุนแรงยิ่งขึ้น พบในหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 5 จำนวน 6 ราย (ข้อมูล ณ 28 มกราคม 2567)
ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลท่าเรือ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกพื้นที่ตำบลท่าเรือ ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการกระตุ้นให้ชุมชน และลดอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก สร้างความร่วมมือในชุมชนเพื่อการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 4.1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตำบลทุกครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจและให้ความร่วมมือในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 100 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

100.00
2 4.2. เพื่อรณรงค์ป้องกันและควบคุมลูกน้ำยุงลาย โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์

ร้อยละ 75 มีการรณงรค์ป้องกันและควบุมลูกน้ำยุงลาย

75.00
3 4.3. เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคโดยการจัดหาเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาเมื่อเกิดโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 100 ต้องได้รับการพ่นหมอกควันอย่างน้อย 2 ครั้ง ใน 1 ผู้ป่วย ระยะ 150 เมตร

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

9.1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ - ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600.-  บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600.- บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน ๆ ละ 30 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 3,600.- บาท - ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน ๆ ละ 60 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 3,600.- บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม เป็นเงิน 4,800.- บาท รวมทั้งสิ้น 16,200.- บาท 9.2. กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ป้องกันควบคุมโรค และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์
- ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก จำนวน 8 ป้าย ๆ ละ 500 บาท
เป็นเงิน 4,000.- บาท - ค่าป้ายรณรงค์โรคไข้เลือดออก จำนวน 3 ป้าย ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน  900 .- บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,800.- บาท - ค่าสเปรย์ฉีดป้องกันยุง จำนวน 40 กระป๋อง ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 4,000.- บาท - ค่าโลชั่นทากันยุง จำนวน 40 ขวด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 800.- บาท - ค่าทรายอะเบท จำนวน 1 ถัง ๆ ละ 4,900 บาท เป็นเงิน 4,900.- บาท รวมทั้งสิ้น 16,400.- บาท   9.3. กิจกรรมพ่นหมอกควันเมื่อเกิดการระบาดและพ่นก่อนเปิดภาคเรียน - สารเคมีสำหรับพ่นยุง จำนวน 3 ขวด ๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500.- บาท - ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดดีเซลผสมสารเคมี      เป็นเงิน 13,000.- บาท - ค่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 หรือเบนซิน เป็นเงิน 8,000.- บาท - ค่าจ้างเหมาคนพ่น จำนวน 2 คน ๆ ละ 200 บาท/ครั้ง เป็นเงิน 4,800.- บาท รวมทั้งสิ้น 30,300.- บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 62,900.- บาท (หกหมื่นสองพันเก้าร้อยบาทถ้วน)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.1. ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อและสามารถนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้ 10.2. ประชาชนมีควาตระหนักและสามารถทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายที่เป็นต้นเหตุได้ 10.3. อัตราการระบาดของโรคไข้เลือดออกลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ