กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์และ หญิงตั้งครรภ์ ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ L8279-01-2567
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 มิถุนายน 2567 - 27 มิถุนายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลบาเจาะ
พี่เลี้ยงโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบาเจาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.514,101.636place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์และการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ (preconception care) เป็นการจัดบริการแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีเป้าหมายเพื่อให้สตรีมีสุขภาพดี ปราศจากโรคภัย เกิดผลลัพธ์จากการตั้งครรภ์ที่ดี เนื่องจากสตรีวัยเจริญพันธุ์เป็นช่วงที่อายุมีความพร้อมมากที่สุดต่อการกระทำหน้าที่ที่สมบูรณ์ของสตรี คือการให้กำเนิดบุตร ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญในสังคม การจัดระบบสุขภาพของกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์จึงเป็นการส่งเสริมสุขภาพของประชากรกลุ่มสำคัญให้มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งจากสถานการณ์ของโรคที่เกิดขึ้นในกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธ์ พบว่า โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของโลกที่เกิดขึ้นในกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธ์ โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ในประเทศไทยโรคมะเร็งพบมากที่สุดในช่วงอายุ ระหว่าง 45-50 ปี ทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและ ในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 - 60 ปี และการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว อันจะช่วยทำให้พบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรกได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง จากเหตุผลเบื้องต้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นงานหลักให้กับทุกสถานบริการเร่งรัดการดำเนินการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 30- 60 ปี ที่ผ่านมา จากการดำเนินงานของ รพ.บาเจาะ ในปี 2566 และ 2566  พบว่ากลุ่มหญิงอายุ 30-60 ปี รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ 9.15 และ 13.10 ของกลุ่มเป้าหมายตามลำดับ จากเป้าหมายร้อยละ 20 กำหนดให้สตรีอายุ 30-60 ปี ทุกคนต้องตรวจคัดกรอง 1 ครั้ง ในรอบ 5 ปี ผลการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งเต้านม ได้ร้อยละ 90.18 และ 80.24 ตามลำดับ ปัญหาที่พบในเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม เป็นการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมายยากมาก  เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายยังไม่ตระหนักถึงความอันตรายของโรค มีความอายในการมาตรวจ ให้ความสำคัญการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองน้อย และขาดทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง  อสม.ขาดการพัฒนาศักยภาพการตรวจมะเร็งเต้านมอย่างต่อเนื่อง  ไม่ยอมรับการตรวจ ทำให้การดำเนินงานยังไม่ครอบคลุม จึงมีความจำเป็นที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเครือข่ายสุขภาพ ต้องมีการรณรงค์ในการให้ความรู้พร้อมทั้งชักชวนให้กลุ่มเป้าหมายรับการตรวจคัดกรองให้ครอบคลุมและเพิ่มการเข้าถึงในการเข้ารับการตรวจฝากครรภ์ให้ได้มากที่สุด จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว  โรงพยาบาลบาเจาะ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ และมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้ดีตามบริบทของพื้นที่ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายในการเฝ้าระวังให้กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม อันส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ในหญิงวัยเจริญพันธ์และกลุ่มสตรี อายุ 30–60 ปี ให้ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก / มะเร็งเต้านม

 

2 เพื่อส่งเสริมสุขภาพในขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอดแก่หญิงตั้งครรภ์

 

3 เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการที่จำเป็นสำหรับกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม
  2. หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
  3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจครรภ์ และเยี่ยมหลังคลอดตามเกณฑ์คุณภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2567 09:39 น.