กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "ภูมิปัญญาไทย สมุนไพรไล่ยุง"ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2502-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กาหนั๊วะ
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 28,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิด๊ะห์ ดือเระ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในทุก ๆ ปีจะมีคนมากกว่า๑ ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคที่มียุงเป็นพาหะ และมีหลายร้อยล้านคน ที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่ยุงเป็นพาหะ โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากยุงลาย ซึ่งสถานการณ์ของโรค ไข้เลือดออกของตำบลกาลิซาในปี๒๕๖๐-๒๕๖๕ มีรายงานผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก จำนวนทั้งหมด ๔๙ ราย จากการสำรวจพบว่าช่วงปลายฝนต้นหนาวทุกพื้นที่ ทุกครัวเรือนมักเลือกใช้ยากันยุงกันอย่างแพร่หลายซึ่งในยากันยุงที่ใช้กันอยู่ตามบ้าน ส่วนใหญ่นั้นมีส่วนผสมของของไพรีทรอยด์ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบประสาท ทำให้แมลงบินเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว สารเหล่านี้ถูกปลดปล่อยออกมาในรูปแบบของควันอาการพิษในคนที่เกิดจากสารเหล่านี้ จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทอย่างรวดเร็ว ได้แก่ มึนงง ปวดศีรษะเป็นต้น ในปัจจุบันวิวัฒนาการของการไล่ยุงมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง รูปแบบผลิภัณฑ์ที่ใช้ไล่ยุงก็มีมากมายและหลากหลายแบบให้เลือก แต่โดยส่วนใหญ่จะพบสาร DEET เป็นส่วนประกอบหลักในผลิตภัณฑ์ ซึ่งสาร DEET มีชื่อทางเคมีคือ N,N-diethyl-meta-toluamide or N,N-diethyl-3-methylbenzamide เป็นสารที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลง โดยปริมาณ DEET ที่ใช้ทาผิวหนังและใช้ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลงคือ 4-100%อาการพิษที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ไล่แมลงที่มีสาร DEET เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่มักเป็นเพียงการระคายเคืองจากการสัมผัสสารบริเวณนั้น โดยถ้าได้รับทางปากอาจทำให้เกิดการระคายเคืองในปากและลำคอ และอาจทำให้เนื้อเยื่อในระบบทางเดินอาหารบวมแดง หรือไหม้ได้ ถ้าได้รับในปริมาณมากและความเข้มข้นสูง นอกจากนี้อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้องได้ ตัวอย่างของผลข้างเคียงจาก DEET ได้แก่ ลมพิษ ผื่นแดง ระคายเคือง ปากชา มึนงง ไม่มีสมาธิ ปวดหัว คลื่นไส้ ด้วยเหตุผลนี้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่ได้จากสมุนไพรธรรมชาติจึงได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากมีข้อได้เปรียบในเรื่องความปลอดภัย ซึ่งรูปแบบผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่ได้จากสมุนไพรธรรมชาติก็จะมีหลายรูปแบบ เช่น โลชั่น สเปรย์ เป็นต้น เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของไข้เลือดออก และโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาหนั้วะ จึงมีแนวคิดที่จะนำสมุนไพรมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ไล่ยุง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ และยังเป็นการส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์สมุนไพรไทยให้อยู่คู่กับคนไทยไปอีกนาน ทั้งนี้จึงมีความประสงค์จะจัดโครงการอบรมเชิง ปฏิบัติการ "ภูมิปัญญาไทย สมุนไพรไล่ยุง"ปี ๒๕๖ สำน่ให้ปรังชาชนในพื้นที่ได้เรียนรู้ถึงคุณค่า และสรรพคุณของสมุนไพรเพิ่มขึ้น ตลอดจนหันมาใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวร่วมด้ว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประยุกต์ใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ไล่ยุง ลดการใช้สารเคมี

ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถประยุกต์ใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์ไล่ยุง ลดการใช้สารเคมี

2 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะของ อสม. โดยการนำนวัตกรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ เหมาะสมกับสภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่ และเพื่อก่อเกิดประโยชน์แก่ชุมชน

ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำนวัตกรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานได้เหมาะสมกับ สภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่ และเพื่อก่อเกิดประโยชน์แก่ชุมชน

3 เพื่อดำเนินการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงในการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ มากกว่าร้อยละ60

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถประยุกต์ใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ไล่ยุง เพื่อลดการใช้สารเคมีในครัวเรือนได้
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถพัฒนาองค์ความรู้ และมีทักษะในการนำวัตกรรมไปใช้ในการปฏิบัติงานได้เหมาะสมกับสภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่ และเพื่อก่อเกิดประโยชน์แก่ชุมชน
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงในการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2567 14:56 น.