กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน หมู่ที่ 5 บ้านท่าเขา ตำบลลิพัง ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L1486-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 5บ้านท่าเขา
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 10 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 16 กันยายน 2567
งบประมาณ 7,732.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุวรรณี นาคขวัญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.184,99.81place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2567 10 ก.ย. 2567 7,732.00
รวมงบประมาณ 7,732.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคเลปโตสไปโรซีสระบาด
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือโรคฉี่หนู มักจะมาช่วงฤดูฝน ฝนที่ตกหนักติดต่อกันเป็นช่วงๆ ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ "โรคฉี่หนู" ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospira) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน พบมากในพื้นที่ที่มีการปลูกข้าว เนื่องจากต้องเดินย่ำน้ำหรือพื้นดินที่ชื้นแฉะ อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่องอย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเหลือง เนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้   จากข้อมูลสถิติการระบาดของโรคฉี่หนูในเขตตำบลลิพัง เมื่อปี 2566 มีผู้ป่วยจำนวน 58 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 893.27 ต่อแสนประชากร ซึ่งมีอัตราการป่วยสูง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น ถ้าหากไม่มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคที่ดี การรณรงค์กำจัดพาหะนำโรคและการใช้เครื่องมือป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ ชุมชน หมู่ที่ 5 บ้านท่าเขา ได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญของปัญหาโรคเลปโตสไป-โรซีส เป็นอย่างยิ่ง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความสามารถในป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคเลปโตสไปโรซีส 2. เพื่อเกิดการปรับปรุงอนามัยสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนให้เอื้อต่อการป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคเลปโตสไปโรซีส 3.เพื่อประชาสัมพันธ์และรณรงค์กำจัดหนูซึ่งเป็นพาหะของโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน

ผู้ที่ได้รับการอบรมความสามารถในป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคเลปโตสไปโรซีส เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 เกิดการปรับปรุงอนามัยสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนให้เอื้อต่อการป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคเลปโตสไปโรซีส ร้อยละ 80 มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์กำจัดหนูซึ่งเป็นพาหะของโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ และเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส
        2. ทุกครัวเรือนในหมู่บ้าน มีการการปรับปรุงอนามัยสิ่งแวดล้อมในครัวเรือน     3.มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์กำจัดหนูซึ่งเป็นพาหะของโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2567 16:32 น.