กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในเด็กเล็ก
รหัสโครงการ 67-L1486-03--18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองการศึกษาอบต.ลิพัง
วันที่อนุมัติ 7 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 10 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 10 กันยายน 2567
งบประมาณ 8,342.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุธีรพันธ์ วารินสะอาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.184,99.81place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

นปี 2560 มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มากกว่าร้อยละ 75 เป็นเด็กก่อนวัยเรียนจำนวนกว่า 1,700,000 คน (ประชากรเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ประมาณ 3.9 ล้านคน เด็ก 1-4 ปี ประมาณ 3.2 ล้านคน) ต้องถูกฝากเลี้ยงไว้ในศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเจ็บป่วยจะสามารถแพร่เชื้อโรคติดต่อสู่กันได้ง่าย เด็กเล็กมีภูมิต้านทานต่ำจะป่วยได้บ่อย โรคที่พบบ่อยได้แก่ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจโรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการสุขภาพโดยรวมของเด็ก การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก อาจต้องปิดโรงเรียน เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ผู้ปกครองต้องหยุดงาน เพื่อดูแลเด็กที่บ้าน ทำให้ขาดรายได้ จึงจำเป็นต้องดำเนินงานการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรคในศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียนอนุบาลให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการเกิดโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก โรคมือ เท้า ปาก และโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันแล้วยังเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาดของโรคติดเชื้อ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคในศูนย์เด็กเล็กเพื่อป้องกันและควบคุมโรค มือ เท้า ปาก หมายถึง การดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค มือ เท้า ปาก ไม่ให้แพร่กระจายและลดการป่วยของเด็กเล็กไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในศูนย์เด็กเล็ก มีมาตรการการดำเนินงาน 3 ข้อ 1) คือเฝ้าระวังป้องกันโรคล่วงหน้า โดยการคัดกรองอาการป่วย 2) ควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ โดยการแยกเด็กป่วย และทำความสะอาดห้องเรียน ของเล่น ที่นอนรวมทั้งอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียนอนุบาล 3) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชนและท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง งานป้องกันและควบคุมโรค โรงพยาบาล/หน่วยบริการของตำบลมีเป้าหมายความสำคัญในของการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคในศูนย์เด็กเล็กให้ปลอดโรค ไม่ให้เกิดการระบาดของโรคและลดอัตราการป่วยของเด็กในพื้นที่จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ลดลง 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดกิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2567 09:22 น.