กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเก็บให้เกลี้ยง ไม่เสี่ยงยุงลาย เขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธาธารณสุข โรงพยาบาลบางแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.451,100.157place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยมาตลอดเนื่องจากความรุณแรงของโรคไข้เลือดออก ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน สังคม ตามลำดับ เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา       อำเภอบางแก้วพบผู้ป่วยไข้เลือดออกและอาการเข้าข่ายไข้เลือดออก ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงตุลาคม 2566 จำนวน 81 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 324.19 ต่อแสนประชากร (เกณฑ์ไม่เกิน 108 ต่อแสนประชากร) จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออก เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและสิ่งแวดล้อมที่มีขยะรอบบ้าน ซึ่งขยะเหล่านั้นเหล่านั้นจะกลายเป็นแหล่งน้ำขัง และเป็นปัจจัยเอื้อต่อการวางไข่ของยุงลาย ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน วัด ชุมชน โรงเรียนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ     ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลบางแก้ว ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเก็บให้เกลี้ยงไม่เสี่ยงยุงลาย ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนรู้จักวิธีป้องกันโรคไข้เลือดออก/การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายด้วยหลัก 5 ป.1ข. การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน

1.ประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกและการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายด้วยหลัก 5ป.1ข. 2.ครัวเรือนมีการจัดการขยะที่ถูกวิธี 3.ปริมาณขยะในครัวเรือน/ในชุมชนลดลง

2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 ให้ความรู้เรื่องโรคการป้องกันโรคไข้เลือกออก การจัดการขยะ/สิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน/ในชุมชน(1 เม.ย. 2567-30 ก.ย. 2567) 0.00            
รวม 0.00
1 ให้ความรู้เรื่องโรคการป้องกันโรคไข้เลือกออก การจัดการขยะ/สิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน/ในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก/การจัดการขยะในครัวเรือน/ในชุมชน
  2. ปริมาณขยะในตรัวเรือน/ในชุมชนลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2567 13:59 น.