กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการการส่งเสริมการจัดการสุขภาพแบบองค์รวม ในเขตพื้นที่ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา ศูนย์สุขภาพชุมชนชลาทัศน์ และศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการส่งเสริมการจัดการสุขภาพแบบองค์รวม ในเขตพื้นที่ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา ศูนย์สุขภาพชุมชนชลาทัศน์ และศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง
รหัสโครงการ L7250-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 225,880.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเมทินี ขุนเจริญ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 404 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์โรควิถีชีวิตในประเทศไทยกำลังทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะ ๕ โรคสำคัญ ได้แก่ เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อ รักษายาก และไม่หายขาด ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค แต่เกิดมาจากสาเหตุการใช้วิถีชีวิตแบบสังคมคนเมืองสมัยใหม่
ที่มีพฤติกรรมการกินเปลี่ยนแปลงไป โดยบริโภคอาหารหวาน มัน และเค็มเพิ่มขึ้น กินผักผลไม้น้อย และขาดการออกกำลังกาย จึงส่งผลให้คนไทยมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้น
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกและประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด โรคล้วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสความเจริญของโลก ประกอบกับโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงที่ทำให้มีผู้สงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงยังทำให้ผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่ม ทำให้สำนักระบาดวิทยาต้องดำเนินการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ๕ โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2566 ในเขตพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ที่อยู่ในระบบการรักษา มีทั้งหมด 1,854 คน แยกเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 728 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,126 คน และเป็นทั้งสองโรค จำนวน 374 คน ซึ่งมารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ เครือข่ายโรงพยาบาลสงขลา 90 คน และอีก 1,764 คน รับยาที่โรงพยาบาลสงขลา, โรงพยาบาลอื่นๆ ของรัฐ
และคลินิก ศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง อยู่ในระบบการรักษา มีทั้งหมด 1,752 คน แยกเป็นโรคเบาหวานจำนวน 633 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 592 คน และเป็นทั้งสองโรค จำนวน 527 คน
ศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา ที่อยู่ในระบบการรักษา มีทั้งหมด 804 คน แยกเป็นโรคเบาหวานจำนวน 116 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 409 คน และเป็นทั้งสองโรค จำนวน 279 คน
ศูนย์สุขภาพชุมชนชลาทัศน์ ที่อยู่ในระบบการรักษา มีทั้งหมด 1,256 คน แยกเป็นโรคเบาหวานจำนวน 109 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 591 คน และเป็นทั้งสองโรค จำนวน 556 คน ซึ่งมารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของศูนย์สุขภาพชุมชนชลาทัศน์,สมิหลา,ใจกลางเมือง เครือข่ายโรงพยาบาลสงขลา จำนวน 691 คน ศูนย์เก้าเส้ง 52 คน และอีก 3,069 คน รับยาที่โรงพยาบาลสงขลา,โรงพยาบาลอื่นๆ ของรัฐ และคลินิก

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทั้ง 4 หน่วยบริการ ต้องได้รับการดูแลแบบองค์รวมตามมาตรฐานวิชาชีพเฉพาะโรค
เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และไตวาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อประเมินผู้ป่วยในคลินิกโรคเรื้อรัง ได้รับการดูแลตามมาตรฐานวิชาชีพเฉพาะโรค และลดภาวะแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจ ไตวาย

1.ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยในคลินิกโรคเรื้อรัง ได้รับการดูแลแบบองค์รวมตามมาตรฐานวิชาชีพ

80.00
2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและควบคุมโรคเรื้อรังได้อย่างเหมาะสม

2.ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยในคลินิกโรคเรื้อรัง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

80.00
3 3.เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กับแกนนำสุขภาพ

3.ร้อยละ 90 ของแกนนำสุขภาพมีความรู้และทักษะในการจัดการสุขภาพของตนเองและครอบครัว

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 264 39,600.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารเช้า 140 8,400.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 140 4,200.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าวิทยากร 0 9,600.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดฐาน 0 12,000.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่านวัตกรรมกันลืมกระเป๋าผ้า 140 11,200.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารกลางวัน 140 8,400.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าโปสเตอร์โฟมบอร์ดความรู้โรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ 0 14,400.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าแฟ้มใส่เอกสารประวัติการตรวจรักษาผู้ป่วยเรื้อรัง 140 5,600.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าเครื่องวัดความเค็มในอาหารแบบพกพา (Salt Meter) 0 16,480.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าเครื่องตรวจวัดความเค็มในปัสสาวะ KME-03 0 24,000.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าสติกเกอร์เตือนใจ รู้ไว ไปเร็ว ปลอดภัย จากโรคหลอดเลือดสมอง 0 72,000.00 -
รวม 964 225,880.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยเรื้อรัง-ติดเตียง-ผู้พิการ-ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะท้าย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2.ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและควบคุมโรคเรื้อรังได้อย่างเหมาะสม 3.นำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดกับปฏิบัติให้กับคนอื่นได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2567 11:39 น.