กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมใจป้องกันภัย 3 โรค (โรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า) เทศบาลเมืองปัตตานี ปี 2567 (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 67-L7884-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานป้องกันและควบคุมโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 630,435.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนันทรัตน์ คงเขียว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า เป็นโรคติดต่ออันตรายที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ถือเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ โดยพบว่าทั้งโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยาและโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า สามารถเกิดการระบาดของโรคได้เกือบตลอดทั้งปี แต่มักจะมีการระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน สถานการณ์ของโรคเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลตามสภาพทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้าเป็นเรื่องที่จะต้องเน้นสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรค ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค จึงต้องเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายอย่างจริงจังและต่อเนื่องตามมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค( 3 เก็บ เก็บบ้าน, เก็บขยะ, เก็บน้ำ) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่จะทำให้เขตเทศบาลเมืองปัตตานีปราศจากลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและความร่วมมือกันป้องกันการแพร่ระบาดของโรค จากข้อมูลจังหวัดปัตตานีด้วยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับแจ้งจากกรมควบคุมโรคว่าสถานการณ์โรคติดต่อนำโดยยุงลายในปี 2566 พบผู้ป่วยจำนวนมาก ข้อมูลจากรายงาน 506 กองระบาดวิทยา ณ.วันที่ 27 ธันวาคม 2566 โรคไข้เลือดออก พบผู้ป่วยสะสม 153,734 ราย ผู้ป่วยเสียชีวิต 168 ราย โรคไข้ปวดข้อยุงลาย จำนวน 1,371 ราย และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า จำนวน 742 ราย และจากการพยากรณ์โรคปี พ.ศ.2567 มีแนวโน้มที่จะเกิดการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลสถานการณ์โรคเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ปี 2566 (ฐานข้อมูล 506) ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 91 ราย เมื่อจำแนกเป็นรายตำบลพบว่า ตำบลสะบารัง พบผู้ป่วย 50 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 290.04 ต่อประชากรแสนคน ตำบลอาเนาะรู พบผู้ป่วย 24 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 313.03 ต่อประชากรแสนคน ตำบลจะบังติกอ พบผู้ป่วย 17 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 335.24 ต่อประชากรแสนคน ทั้ง 3 ตำบลไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งปัญหา ในชุมชนพบว่าสิ่งแวดล้อมไม่ดี มีกองขยะจำนวนมาก เมื่อถึงฤดูฝนเกิดน้ำท่วม มีขยะในชุมชนจำนวนมาก ทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธ์ของลูกน้ำยุงลายได้ง่ายทำให้เกิดการระบาดของโรค
ดังนั้นงานป้องกันและควบคุมโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี ร่วมกับโรงพยาบาลปัตตานี ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค จึงได้จัดทำ โครงการร่วมใจป้องกันภัย 3 โรค(โรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า) เทศบาลเมืองปัตตานี ปี 2567 เพื่อป้องกันควบคุมโรคและลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า) และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน หน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ปลอดภัยจากโรค ซึ่งนำมาสู่การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อลดอัตราป่วยและการเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ในประชาชนทุกกลุ่มวัย ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ข้อที่ 3 เพื่อปรับสภาพแวดล้อมลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ข้อที่ 4 เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์เพียงพอต่อการการป้องกันและควบคุมโรคและสามารถรับสถานการณ์โรคได้ทันท่วงที

ตัวชี้วัดความสำเร็จ -อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร -อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคชิกุนคุนยาลดลงร้อยละ 20 เทียบค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี -ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ร้อยละ 80 -ความชุกของลูกน้ำยุงลายไม่ให้เกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (HI

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. วิธีดำเนินการ 2.1 การดำเนินการล่วงหน้า

- วางแผนและเสนอโครงการ เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
- จัดประชุมชี้แจงโครงการ เชิญผู้เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. แกนนำชุมชน ครูอนามัยโรงเรียน ประชุมร่วมกันเพื่อค้นหา วิเคราะห์และประเมินแนวโน้มปัญหาโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะเพื่อหาแนวทางการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา - ประสานงานกับหน่วยงานฝึกอบรมในการจัดวิทยากรให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า
- จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ให้แก่อสม. แกนนำ ชุมชน ครูอนามัยโรงเรียน นักเรียนและประชาชนทั่วไป
- ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อรณรงค์ ป้องกัน 3 โรค (โรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า)


2.2 การดำเนินการขณะเกิดโรค - จัดซื้อและจัดเตรียมความพร้อมวัสดุอุปกรณ์เพื่อดำเนินโครงการ ได้แก่ แผ่นพับ ,ทรายอะเบท, โลชั่นทากันยุงสเปรย์ไล่ยุงและสเปรย์กำจัดยุง,ไฟฉาย, สารเคมีพ่นกำจัดยุง, ไวนิลสื่อรณรงค์เพื่อให้ความรู้ในชุมชนและโรงเรียน เป็นต้น
- จัดกิจกรรมเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก, โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ในชุมชน
1. ดำเนินการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอยกำจัดตัวเต็มวัยของยุงและพ่นจุลินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ในแหล่งน้ำตามชุมชน บ้าน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลาด หน่วยงานต่างๆ เป็นต้น และดำเนินการพ่นหมอกควันบริเวณบ้านผู้ป่วยและรอบบ้านรัศมี 100 เมตร 2.ดำเนินการสอบสวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก โดยสำรวจความชุกและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ตามมาตรการ 3 เก็บป้องกัน 3 โรค พร้อมให้ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย, โลชั่นทากันยุงเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค 2.3 การดำเนินการหลังเกิดโรค - จัดกิจกรรมรณรงค์ big cleaning สร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนและโรงเรียนรวมพลังกำจัดลูกน้ำยุงลาย ตามวิธี 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรคทุกชุมชนโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข, อสม, ผู้นำชุมชน, ประชาชนในชุมชนและโรงเรียน - ร่วมรณรงค์สร้างกระแสในชุมชน, โรงเรียน, วัด, มัสยิด เป็นต้น โดยออกสำรวจความชุกและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ร่วมกำจัดขยะ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ถูกสุขลักษณะ - รณรงค์จัดกิจกรรม ASEAN DENGUE DAY วันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปี - ให้สุขศึกษาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โดยรถประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เรืองโรคไข้เลือดออก ในชุมชน - สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกัน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา ลดลงและไม่เกิดโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า
  3. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการป้องกัน 3 โรค ได้อย่างถูกวิธี และเหมาะสม
  4. ประชาชนเกิดความตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันควบคุมโรคด้านการควบคุมพาหะด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรค
  5. สามารถสร้างเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กร ผู้นำชุมชน อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2567 11:51 น.