กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ตำบลท่าแพ ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L5287-2-003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการมัสยิดคลองน้ำเค็ม
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 31 พฤษภาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2567
งบประมาณ 148,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยำอาด ลิงาลาห์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.791,99.964place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 เม.ย. 2567 31 พ.ค. 2567 148,650.00
รวมงบประมาณ 148,650.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย คือการทำความสะอาดร่างกายที่ต้องตัดแต่งเพื่อขจัดความสกปรก จากงานวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV ได้ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า Smegma หรือขี้เปียก นอกจากนี้การขลิบหนังปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กอีกด้วย ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย จากข้อมูลทางการแพทย์พบว่าบริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของผู้ชาย เป็นจุดรวมของเชื้อโรคเป็นจำนวนมาก เพราะไม่สามารถล้างทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึง จึงมักจะเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ มากมาย เช่น กามโรค การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและภาวะหนังหุ้มปลายองคชาตตีบ (Phimosis) ซึ่งก็เป็นอันตรายไม่น้อย ดังสถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในประเทศไทย ในภาพรวมประเทศ พ.ศ. 2560 - 2564 จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังโรค รง.506 สํานักระบาดวิทยา พบว่า อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 5 โรค (ได้แก่โรคหนองใน โรคหนองในเทียม โรคซิฟิลิส โรคแผลริมอ่อน โรคกามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามลําดับ 51.35, 57.37 และ 72.42 ต่อประชากรแสนคน และพบว่าในแต่ละปีแนวโน้มพบผู้ป่วยอายุน้อยลงเรื่อยๆ ถือเป็นตัวสะท้อนที่แสดงให้เห็นถึงการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ดังนั้นทางการแพทย์จึงสนับสนุนให้มีการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของผู้ชายตั้งแต่วัยเด็ก เพราะจะทำให้สามารถดูแลและทำความสะอาดอวัยวะเพศได้ง่ายขึ้น สะอาดมากขึ้นและลดโอกาสการเป็นโรคร้ายได้สูงมากทีเดียว ดังเช่นการศึกษาวิจัยยืนยันของนักวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่าการขลิบอวัยวะเพศชายจะช่วยลดการติดเชื้อไวรัส HIV ได้ 60 เปอร์เซ็นต์ ในตำบลท่าแพ มีประชากรส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาอิสลาม คิดเป็นเปอร์เซ็นได้ 99.7 เปอร์เซ็น นับถือพุทธศาสนา คิดเป็น 0.3 เปอร์เซ็น ซึงในทัศนะของอิสลามนั้น การขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชายเป็นการเอาใจใส่ดูแลสุขอนามัยและการทำให้บริสุทธิ์ การขลิบเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ชายทุกคน การขลิบปลายอวัยวะเพศของเด็กชาย เมื่อย่างเข้าวัยอันควร อายุระหว่าง 6 - 12 ปี โดยการตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้ชายเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาความสะอาด หากหนังหุ้มนั้นยังปกคลุมอยู่ ส่วนวัตถุที่คล้ายเนยแข็งซึ่งขับถ่ายออกมาโดยผิวหนังของบริเวณปลายอวัยวะสืบพันธุ์จะหมักหมมอยู่ การขลิบเป็นการขจัดสิ่งนี้โดยวิธีที่ดีที่สุด อีกประการหนึ่งเพื่อป้องกันน้ำปัสสาวะค้างซึ่งเป็นสิ่งสกปรกมีกลิ่น ยากแก่การทำความสะอาด ในด้านการแพทย์ให้ความเห็นว่า เป็นมาตรการที่มีความสำคัญในทางสุขวิทยาเป็นอย่างมาก
ทางมัสยิดคลองน้ำเค็ม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ในกลุ่มเด็กในพื้นที่ตำบลท่าแพ จึงได้จัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมสุขภาพการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เพื่อลดภาวะเสี่ยงจากการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายแบบปราศจากเชื้อ เพื่อให้เด็กได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อจากการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

อุบัติการณ์การติดเชื้อ ร้อยละ 0

0.00
2 2. เพื่อลดภาวะเลือดออกมากจากการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

อุบัติการ์ภาวะเลือดออกมาก ร้อยละ 0

0.00
3 3. เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ และสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค

กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักมากขึ้น มีการดูแลสุขภาพ และสามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 190 148,650.00 0 0.00
2 พ.ค. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคติดเชื้อและกิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย 190 148,650.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กในพื้นที่ได้รับบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย
  2. สามารถลดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและภาวะออกเลือดมาก (Bloodding) ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) และการติดเชื้อรวมทั้งสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครอง ชุมชน ในการป้องกันโรคติดเชื้อ
  3. เด็กชายและเยาวชนได้รับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายอย่างถูกต้องปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2567 14:12 น.