กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคมาเลเรีย โรงเรียนผดุงศีลวิทยา
รหัสโครงการ 67-L4123-02-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนผดุงศีลวิทยา
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 20,110.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซีฮาบุดดิน สิเดะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 190 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนผดุงศีล เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ควบคู่กับวิชาสามัญ มีหอพักสำหรับนักเรียนชายและหญิงที่อยู่ประจำ บริเวณรอบโรงเรียนมีพื้นที่ที่มีน้ำขัง และในปี 2566 มีนักเรียนป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 10 ราย ซึ่งโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ โดยมียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อไข้เลือดออก มีแหล่งเพาะพันธ์ ในภาชนะที่มีน้ำขังทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่น โอ่ง ไห อ่าง กะลา แจกัน และกระถางต้นไม้ เป็นต้น โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่อันตราย หากไม่ดำเนินการโรคให้ทันท่วงที อาจเป็นปัญหากระทบรุนแรงต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชนและอีกโรคคือโรคมาลาเรีย (Malaria)ไข้ป่า หรือไข้จับสั่น คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว (Protozoa) ในกลุ่มพลาสโมเดียม (Plasmodium spp.) ที่มียุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะนำโรคไข้มาลาเรียสู่คนจากการเข้าป่าและถูกยุงกัดจนทำให้มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงของโรคมาลาเรียอาจทำให้มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ตัวเหลือง ตาเหลือง ไตวาย ไข้มาลาเรียขึ้นสมองอาจทำให้มีอาการชักเกร็ง อวัยวะภายในล้มเหลวหลายระบบจนกระทั่งเสียชีวิต
การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนานักเรียนและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น จากเหตุผลข้างต้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียอย่างเร่งด่วน ซึ่งมาตรการที่สำคัญที่จะควบคุมโรคให้ได้ผล ต้องอาศัยการประสานงาน การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายทำหน้าที่ปฏิบัติงานในรูปของการเฝ้าระวังและควบคุมโรคเชิงรุก การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง การกำจัดยุง ทั้งกายภาพและเคมี รวมทั้งให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนมีความรู้ และเกิดทัศนคติที่ดี พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรค โรงเรียนผดุงศีลวิทยา ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคมาลาเรียขึ้น เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ในการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ และมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และโรคไข้มาลาเรีย

ร้อยละ 90 ของนักเรียนได้รับความรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก และโรคมาลาเรีย โดยการสำรวจและควบคุมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ของยุงลายและยุงก้นปล่อง

ร้อยละ 90 ของนักเรียนมีการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก และโรคไข้มาลาเรีย โดยมีการสำรวจและควบคุมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ของยุงลายและยุงก้นปล่องได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,110.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ 0 20,110.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรม Big cleaning day ทำลายแหล่งเพาะพัน์ยุงลายทุกๆวันพฤหัสบดี 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความตระหนักต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคมาลาเรีย และหารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อแบบบูรณาการที่ต่อเนื่อง และยั่งยืน
  2. นักเรียนมีการสำรวจ ควบคุม และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายและยุงก้นปล่อง โดยสมามรถทำอย่างต่อเนื่องทั้งในโรงเรียนและที่บ้านได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2567 00:00 น.