กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อตำบลวัดขนุน
รหัสโครงการ 67-L5270-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขนุน
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 26,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุมาวดี ณะไชยลักษณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 มี.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 26,000.00
รวมงบประมาณ 26,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 240 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพของประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จะเห็นได้จากในอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ในปัจุจบัน และในอนาคต ปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากมาจากสังคมสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรม การออกกำลังกาย พฤติกรรมความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น ดังนั้น การดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จำเป็นจะต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้ และทักษะที่จำเป็น และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทั้งระดับบุคคลครอบครัว และชุมชนครอบคลุม กลุ่มประชากรเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นจะต้องส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขของประเทศ นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรค มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานช่วยคนไทยห่างไกลโรคให้บรรลุผลสำเร็จ โดยการส่งเสริมให้มีความรู้ และทักษะในการดูแลตนเอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้หลัก 3อ.2ส. เป็นหลัก เพื่อให้มีสุขภาวะในทุกด้าน หลังการตรวจคัดกรองความเสี่ยง พื่อค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขนุน ได้เห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการอบรมความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อตำบลวัดขนุน เพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนและกลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วยการให้ความรู้เรื่องสุขภาพ การสาธิตอาหารสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง โดยการจัดกลุ่มสอนทั้งกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและเสี่ยงความดันโลหิตสูงและประชาชนทั่วไป ตลอดจนการแนะนำวิธีการดูแลตัวเองเพื่อห่างไกลโรคและการเพิ่มศักยภาพให้แก่ประชาชน และส่งผลให้ทุกคนมีสุขภาพดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังมีความรู้เรื่องการบริโภคอาหารและการดูแลสุขภาพ

กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้องรังได้รับการอบรมความรู้เรื่องการบริโภคอาหารและการดูแลสุขภาพ ร้อยละ ๘๐

2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังสามารถดูแลสุขภาพมีความเสี่ยงโรคเรื้อรังลดลง

กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังสามารถดูแลสุขภาพมีความเสี่ยงโรคเรื้อรังลดลง ร้อยละ ๕๐

3 เพื่อให้กลุ่มสังสัยป่วยจากกลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งต่อทุกราย

กลุ่มสังสัยป่วยจากกลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งต่อร้อยละ ๑๐๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,000.00 0 0.00
28 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 จัดอบรมความรู้ เรื่องการบริโภคอาหารและการดูแลสุขภาพ 0 21,200.00 -
28 มี.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ติดตามกลุ่มเสี่ยง 3 เดือน 0 4,800.00 -

วิธีการดำเนินการ

ขั้นวางแผน

1 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ

ขั้นดำเนินงาน

1 ประชาสัมพันธ์โครงการ

2 สำรวจข้อมูลกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังรายหมู่บ้าน

3 จัดทำทะเบียนผู้ประสงค์เข้ารับการอบรม

4 จัดอบรมความรู้ กลุ่มเสี่ยงและประชาชนที่สนใจ จำนวน 240 คน (หมู่ละ 30 คน จำนวน 8 หมู่) หมู่ละครึ่งวัน

ขั้นสรุปและประเมินผล

1 ติดตามข้อมูลความดันโลหิตและค่าน้ำตาลปลายนิ้วหลังอบรม 3 เดือน

2 ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงพบแพทย์ในรายที่สงสัยป่วยเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

ขั้นปรับปรุงตามผลการประเมิน

1 กำหนดแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานในครั้งต่อไปให้มีคุณภาพมากขึ้น

2 จัดทำข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ

2 กลุ่มเสี่ยงป่วยได้รับการส่งต่อและสามารถดูแลตัวเองได้ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2567 11:30 น.