กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมควบคุมโรคเทศบาลตำบลท่าเสา
วันที่อนุมัติ 30 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,343.50 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกัลยา บุญพรม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ทั้ง 6 ชุมชนในการรณรงค์และควบคุมป้องกันโรค
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 41 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถิติโรคไข้เลือดออกในอำเภอโพทะเล ปี 2564 – 2566 ในอำเภอโพทะเลพบจำนวนผู้ที่ป่วยโรคไข้เลือดออกเป็นดังนี้ ปี 2564 จำนวน 60,371 ราย พบผู้ป่วย 21 ราย, ปี 2565 จำนวน 60,371 ราย พบผู้ป่วย 4 ราย, ปี 2566 จำนวน 60,371 ราย พบผู้ป่วย 2 ราย คิดเป็นอัตราการป่วย 34.78, 6.63, 3.31 ต่อแสนประชากรตามลำดับ (ที่มา : ข้อมูลศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร) สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในตำบลท่าเสา ในปี 2566 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยไข้เลือดกออกรายใหม่ ปี 2566 จำนวน 6,005 ราย พบผู้ป่วย 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.65 ต่อแสนประชากร(ที่มา : ข้อมูลศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร) โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 - 14 ปีแต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วย ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัด ลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและ ร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน แนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นทางชมรมควบคุมโรคตำบลท่าเสา ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเสา จึงร่วมมือกันเพื่อจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อฟื้นฟูการปฏิบัติหน้าที่ของอสม.และชมรมควบคุมโรคตำบลท่าเสา ให้มีความสามารถในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกขึ้นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเทศบาลตำบลท่าเสา

 

80.00
2 เพื่อฟื้นฟูการปฏิบัติงานอสม.ด้านงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

 

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 4,343.50 0 0.00
2 ต.ค. 66 - 30 พ.ย. 66 ขั้นเตรียมการ 0 0.00 -
1 ธ.ค. 66 - 31 พ.ค. 67 กิจกรรมรณรงค์ 0 4,343.50 -
3 - 30 ก.ย. 67 สรุปโครงการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (CI,HI) ในเขตเทศบาลตำบลท่าเสามีค่าน้อยกว่า 10 2.อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน 3.ประชาชนเกิดความตระหนักในการดูแลสิ่งแวดล้อมที่บ้านเรือนของตนเองไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 4.ทีมความคุมโรคติดต่อมีการปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2567 00:00 น.