กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนสุขภาพดี ด้วยสวนผักคนเมือง ชุมชนแหลมสนอ่อน ศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา
รหัสโครงการ L7250-2-30
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนแหลมสนอ่อน ศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 16,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอภิญญา ชนะโชติ ตำแหน่ง ประธาน อสม.ชุมชนแหลมสนอ่อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.197649,100.600637place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการทำประชาคมปัญหาสุขภาพของศูนย์สุขภาพชุมชนสมิหลา พบว่าโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่ คือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพดังกล่าว พบว่าเพิ่มมากขึ้น ต้องรับการบริการรักษาพยาบาลตลอดชีวิตสูญเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัว เป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการเป็นอันมาก และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เนื่องจากต้นเหตุของปัญหาสุขภาพที่สำคัญมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมีหรือผักผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างเพราะเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกวิธี เพื่อเหตุทางการค้าทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้น ตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง การรับประทานผักอาหารที่มีกากใยมาก อาหารที่มีเบต้า-แคโรทีน วิตามินเอและวิตามินซีสูง ซึ่งสามารถรับประทานได้จากผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักปลอดสารพิษที่สามารถปลูกรับประทานเองได้ในครัวเรือน ถือเป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันปัญหาโรคไม่ติดต่อและเป็นการแก้ที่ต้นเหตุแบบยั่งยืน โดยเน้นการให้สุขศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการบริโภคผัก และการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคในครัวเรือน
การทำสวนผักในเมือง นอกจากสร้างอาหารสำหรับบริโภคได้แล้ว ยังเป็นพื้นที่สีเขียวที่ทำให้คนเมืองได้กลับมาทำงานด้วยกันโดยเฉพาะคนที่อยู่บ้านไม่ได้ออกไปทำงานที่ไหนจะทำให้คนเมืองหันมามีปฏิสัมพันธ์กัน สร้างการมีส่วนร่วมกันในชุมชนผ่านการปลูกผัก สร้างความสามัคคีแก่คนในชุมชน ซึ่งความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องทำให้คนหันกลับมาพูดคุยกัน เกิดความรักกัน ทางชุมชนแหลมสนอ่อนจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ชุมชนมีแปลงผักสาธิตและเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
  1. มีแปลงผักสาธิตและเป็นแหล่งเรียนรู้การทำสวนผักคนเมืองอย่างต่อเนื่อง
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อให้ชุมชนมีแปลงผักสาธิตและเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การปลูกผักสวนครัวและการทำน้ำหมักชีวภาพ 0.00 16,600.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50.00 1,500.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารกลางวัน 50.00 3,000.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าตอบแทนวิทยากร 0.00 1,800.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าวัสดุอุปกรณ์ / แปลงสาธิต 0.00 10,000.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าจัดทำเอกสารรูปเล่ม 0.00 300.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในซอยที่เข้าร่วมโครงการ มีความรักสามัคคี และมีผักปลอดสารพิษ ที่ปลูกเองในซอยไว้รับประทาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2567 14:34 น.