กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของประชาชน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรรณชิตา ณ จอม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวัดขวาง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 340 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในสังคมปัจจุบัน สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้เข้ามามีบทบาทในด้านการผลิตทางการเกษตร องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ สำรวจพบว่าอัตราเพิ่มของอาหาร(ผลผลิตทางการเกษตร) จะเป็นปฏิภาคกับอัตราการเพิ่มการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ที่สำคัญคือแมลงศัตรูพืช ซึ่งมีประมาณ 10,000 ชนิด ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกร อย่างมากมายในแต่ละปี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ถือเป็นสารเคมีอย่างหนึ่งที่มีความอันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและมีเกษตรกรส่วนมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง สถานการณ์สารเคมีตกค้างในเลือดของประชาชนในพื้นที่ตำบลวัดขวาง พบว่าในปี 2563 , 2564 , 2565จากการตรวจเลือดเพื่อคัดกรองสารพิษตกค้างในเลือดของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตตำบลวัดขวาง พบว่ามีสารพิษตกค้างในเลือดระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ร้อยละ 76.54 , 76.26 , 67.77 ตามลำดับ จากการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องมีแนวโน้มลดลง ในปี 2566 ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปมีทั้งหมดจำนวน3,092คน ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ ในพื้นที่มีอาชีพเกษตรกรรมและมีความเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี ดังนั้นจึงได้มีการจัดทำโครงการคัดกรองความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของประชาชนเพื่อให้ประชาชนผู้ใช้สารเคมีได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดและเพื่อให้ประชาชนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ร้อยละ 10 ของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดในระดับที่เสี่ยงที่ไม่ปลอดภัยมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย

ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักถีงอันตรายที่เกิดจากพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 7,760.00 0 0.00
1 - 28 ก.พ. 66 เจาะเลือดคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในตำบลวัดขวางโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 จำนวน 310 คน 0 2,960.00 -
1 - 30 มิ.ย. 66 จัดอบรมแก่กลุ่มเป้าหมายที่มีระดับสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยในเขตตำบลวัดขวางที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน 0 4,800.00 -
1 - 31 ส.ค. 66 เจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดประเมินผลกลุ่มเป้าหมายที่มีระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย รอบที่ 2 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละ 10 ของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2.ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักถีงอันตรายที่เกิดจากพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3.ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยที่สมัครเข้าร่วมโครงการมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย ร้อยละ 30

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 เม.ย. 2567 14:12 น.