กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ชวนคนปลูกผัก รักษ์สุขภาพ เขตศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง
รหัสโครงการ L7250-2-29
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ชุมชนบ้านบน ศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 16,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาภรณ์ สะระหมาด ตำแหน่ง ประธาน อสม.ชุมชนบ้านบน ศูนย์สุขภาพชุมชนใจกลางเมือง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.204121,100.599607place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีเพื่อชี้แนะแนวทางดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย ให้อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอดี พอใช้ ส่งเสริมความประหยัดในครัวเรือน การชื้อผักจากท้องตลาดนั้นค่อนข้างมีราคาแพงและเต็มไปด้วยสารเคมี การปลูกผักสวนครัวไว้กินเองนั้นถือเป็นการสำรองอาหารอีกวิธีหนึ่ง การปลูกผักสวนครัวจากเศษวัสดุเหลือใช้นั้นเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ลดขยะ ลดโลกร้อน และช่วยสร้างรายได้กับครอบครัวอีกด้วยและลดการเสี่ยงเกิดโรคจากสารเคมีได้ด้วยเช่นโรคมะเร็ง โรคทางเดินอาหาร เป็นต้น ปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนได้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้นทำให้ประชาชนขาดการเคลื่อนไหวออกแรงในชีวิตประจำวันและขาดการออกกำลังกาย ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ การป้องกันที่ดีอีกทางเลือกหนึ่งคือการสร้างสุขภาพดี ด้วยการออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ ซึ่งต้องเลือกปฏิบัติให้เหมาะสมวัยด้วย องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความว่า กิจกรรมทางกายไม่ได้จำกัดเฉพาะการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเท่านั้น แต่รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายใดๆ ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อและพลังงานในชีวิตประจำวันทั่วไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นในการทำงาน เช่น การขึ้นบันได การเดินระหว่างอาคาร การเดินทาง เช่น การเดิน หรือปั่นจักรยานไปยังสถานที่ต่างๆ หรือกิจกรรมนันทนาการ เช่น การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา เพราะฉะนั้นกิจกรรมทางกายจึงทำได้ทุกที่ทุกเวลาเพื่อสุขภาพที่ดี ชุมชนบ้านบนจึงเห็นว่าควรมีกิจกรรมทางกายระหว่างอยู่บ้าน โดยการจัดกิจกรรมปลูกผัก รักษ์สุขภาพ เพื่อส่งเสริมมีกิจกรรมเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายในแต่ละวัน และมีสุขภาพร่างกายที่ดี การปลูกผักส่วนใหญ่มีการก็ใช้ทั้งสารเคมีและยาฆ่าแมลง ทำให้มีสารพิษตกค้างจำนวนมาก ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค จึงเป็นที่มาของการรวมกลุ่มของชาวชุมชนบ้านบน ได้หันมาปลูกพืชผักปลอดสารพิษไว้รับประทานกันเองในครัวเรือน จนเกิดเป็น โครงกาชวนคนปลูกผัก รักษ์สุขภาพ เพื่อส่งเสริมการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือน ที่นอกจากจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนไปเป็นจำนวนมากแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพของสมาชิกทุกคนในชุมชน รวมทั้งก่อให้เกิดการรวมกลุ่มด้วยสามัคคีเข้มแข็งขึ้น และพร้อมที่จะขยายผลจากการดูแลสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครัวเรือนไปสู่การสร้างชุมชนแห่งนี้ให้มีสุขภาวะอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนปลูกผักปลอดสารพิษกินเอง
  1. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการฯปลูกผักปลอดสารพิษกินเองร้อยละ 90
90.00
2 2.เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคจากสารเคมี และโรคเรื้อรังต่างๆ

๒. อัตราการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆลดลงร้อยละ 5

5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 กิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้ การปลูกผักสวนครัว/การทำน้ำหมักชีวภาพ(3 เม.ย. 2567-30 ก.ย. 2567) 16,600.00            
รวม 16,600.00
1 กิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้ การปลูกผักสวนครัว/การทำน้ำหมักชีวภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 16,600.00 0 0.00
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 1,500.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารกลางวัน 50 3,000.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าตอบแทนวิทยากร 0 1,800.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าวัสดุอุปกรณ์ /ทำน้ำหมักชีวภาพ/สาธิตสวนผัก 0 10,000.00 -
3 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าจัดทำเอกสารรูปเล่ม 0 300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีความรักสามัคคี และมีผักปลอดสารพิษ ที่ปลูกเองไว้รับประทาน 2.ช่วยลดภาวะโลกร้อน 3.เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักมาบริโภค 4.ช่วยให้สมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมทำร่วมกันช่วยเกิดความรักสามัคคีปรองดองในครอบครัวและชุมชน 5.ประชาชนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสุขภาพกายและจิตใจดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2567 10:13 น.