กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมให้ความรู้การใช้อุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ของศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินและสร้างภาคีเครือข่ายในหมู่บ้าน
รหัสโครงการ 67-L4118-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน สังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลคีรีเขต
วันที่อนุมัติ 2 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุธานี สาแล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคีรีเขต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.153,101.116place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้จัดตั้งระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินขึ้นในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency medical system= EMS) หมายถึง ระบบบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉิน ให้การดูแลประปฐมพยาบาล ทั้งนอกโรงพยาบาลและในโรงพยาบาลประเทศไทย มีข้อมูลการใช้บริการห้องฉุกเฉิน จำนวนประมาณ 12 ล้านครั้งต่อปี มีผู้ป่วยวิกฤติและเร่งด่วนประมาณ ร้อยละ 30 ที่จำเป็นต้องได้รับบริการการแพทย์ฉุกเฉินและเสียชีวิตนอกโรงพยาบาลประมาณ 60,000 คน หากมีระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพจะช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินดังกล่าวได้ถึงปีละ 9,000-12,000 คน สาเหตุที่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา เพราะมีระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ด้อยประสิทธิภาพไม่ครอบคลุมผู้ป่วยทุกคนและทุกพื้นที่ขาดระบบที่เข้าถึงได้ง่าย การช่วย ณ จุดเกิดเหตุยังด้อยคุณภาพซึ่งทำให้ผู้ป่วยพิการและเสียชีวิตโดยไม่จำเป็น       สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคีรีเขต งานบริการสาธารณสุขและงานสาธารณสุขอื่น ได้เล้งเห็นความสำคัญของการบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยเฉพาะด้านทักษะการกู้ชีพของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ตำบลคีรีเขตยังขาดองค์ความรู้ที่ถูกวิธีและการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ทั่วทุกพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ผู้เจ็บป่วยปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาเครือข่ายระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินตลอดจนบุคลากรและอาสาสมัครกู้ชีพ ที่สามารถให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในหน่วยบริการระดับพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องรวดเร็ว และปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง และสร้างภาคีเครือข่ายในการดำเนินการด้านการแพทย์ฉุกเฉินในหมู่บ้าน จากความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมให้ความรู้การใช้อุปกรณ์เครื่องมือการแพทย์ของศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน องค์การบริหารส่วนตำบลคีรีเขต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกเครือข่ายอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์รุ่นใหม่

เชิงปริมาณ 1. ประชาชนที่มีจิตอาสา 20 คน 2. เครือข่ายอาสาสมัคร 15 คน

เชิงคุณภาพ ๑. ประชาชนที่มีจิตอาสา และเครือข่ายอาสาสมัคร มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐาน และสามารถช่วยเหลือและปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูงบางประการที่เกี่ยวข้องได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ตามอำนาจหน้าที่ ขอบเขต ความรับผิดชอบ และ ข้อจำกัดในการปฏิบัติการฉุกเฉินตาม คำสั่งการแพทย์

2 เพื่อให้ประชาชนที่มีจิตอาสา และเครือข่ายอาสาสมัคร มีความรู้ด้านการปฐมพยาบาล และการปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

เชิงปริมาณ 1. ประชาชนที่มีจิตอาสา 20 คน 2. เครือข่ายอาสาสมัคร 15 คน

เชิงคุณภาพ ๑. ประชาชนที่มีจิตอาสา และเครือข่ายอาสาสมัคร มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐาน และสามารถช่วยเหลือและปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูงบางประการที่เกี่ยวข้องได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ตามอำนาจหน้าที่ ขอบเขต ความรับผิดชอบ และ ข้อจำกัดในการปฏิบัติการฉุกเฉินตาม คำสั่งการแพทย์

3 เพื่อเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ให้อาสาฉุกเฉินรุ่นใหม่ อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียม พื้นฐานเข้าสู่การปฏิบัติจริงอย่างถูกต้องตามกระบวนการงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ให้สามารถประสานงาน แจ้งเหตุและข้อมูลให้กับสถานบริการ สาธารณสุขได้ถูกต้องครบถ้วนตามความก้าวหน้าของระบบสารสนเทศ การแพทย์ฉุกเฉิน

๑. ประชาชนที่มีจิตอาสา และเครือข่ายอาสาสมัคร มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐาน และสามารถช่วยเหลือและปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูงบางประการที่เกี่ยวข้องได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ตามอำนาจหน้าที่ ขอบเขต ความรับผิดชอบ และ ข้อจำกัดในการปฏิบัติการฉุกเฉินตาม คำสั่งการแพทย์

4 เพื่อพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน และเตรียมความพร้อมใน การเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและ ปลอดภัย ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน

เชิงปริมาณ 1. ประชาชนที่มีจิตอาสา 20 คน 2. เครือข่ายอาสาสมัคร 15 คน

เชิงคุณภาพ ๑. ประชาชนที่มีจิตอาสา และเครือข่ายอาสาสมัคร มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐาน และสามารถช่วยเหลือและปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูงบางประการที่เกี่ยวข้องได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ตามอำนาจหน้าที่ ขอบเขต ความรับผิดชอบ และ ข้อจำกัดในการปฏิบัติการฉุกเฉินตาม คำสั่งการแพทย์

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน สังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลคีรีเขต มีจำนวนสมาชิกเครือข่ายอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์รุ่นใหม่เพิ่มขึ้น
๒. เครือข่ายอาสาสมัคร ประชาชนทั่วไป มีความรู้ด้านการปฐมพยาบาล และการปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินได้ อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
๓. สามารถเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ให้แก่ เครือข่ายอาสาสมัครฉุกเฉินรุ่นใหม่ และเตรียม พื้นฐานเข้าสู่การปฏิบัติงานจริงอย่างถูกต้องตามกระบวนการงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน
4. เครือข่ายอาสาสมัคร ประชาชนทั่วไป สามารถประสานงาน แจ้งเหตุและให้ข้อมูลกับสถานบริการสาธารณสุขได้ถูกต้องครบถ้วน ตามความก้าวหน้าของระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน
5. เครือข่ายอาสาสมัคร ประชาชนทั่วไป สามารถพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน และเตรียมความพร้อมใน การเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและ ปลอดภัย ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2567 13:22 น.