กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยสุขภาพดี (กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้วยเทคนิค กิน กอด เล่น เล่า สมวัย ห่างไกลสมาร์ทโฟน) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗
รหัสโครงการ 67-L8287-3-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระพุทธ
วันที่อนุมัติ 29 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 กรกฎาคม 2567 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 9,258.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระพุทธ
พี่เลี้ยงโครงการ กองการศึกษา อบต.เทพา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 31 ก.ค. 2567 31 ก.ค. 2567 9,258.00
รวมงบประมาณ 9,258.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 89 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเลี้ยงดูเด็กทุกคนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ มีความสุข และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบข้างได้เป็นเรื่องสำคัญ พ่อแม่เป็นคนสำคัญที่สุดที่จะช่วยอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตอย่างมีสุขภาพกาย ใจ และสติปัญญาที่สมบูรณ์ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงปฐมวัย 0-5 ปี นับเป็นช่วงที่มีความสำคัญที่ต้องกระตุ้นสร้างพฤติกรรมให้เหมาะสมกับวัย ซึ่งมีวิธีง่ายๆ โดยใช้ แนวคิด กิน กอด เล่น เล่า ประกอบไปด้วย
1. กิน ในช่วง 0-3 ปีแรก สมองของเด็กจะเจริญเติบโตอย่างเร็วมาก จนถึงร้อยละ 80 ของสมองผู้ใหญ่ ช่วงนี้ถือเป็นโอกาสที่เด็กจะได้เรียนรู้และ มีพัฒนาการทั้งทางร่างกายและสมอง เพื่อสร้างพื้นฐานให้แก่ชีวิตในระยะยาว แม่ควรให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน และกินนมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปี ขึ้นไป เพราะนมแม่มีสารอาหารที่สำคัญสำหรับการพัฒนาสมองซึ่งไม่มีอาหารใดเทียบได้ รวมทั้งกระบวนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นกิจกรรมที่ทำให้แม่และเด็กได้ใกล้ชิด โอบก้อม สัมผัสกันและกัน ทำให้เกิดสายใยความรักความผูกพันซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความอบอุ่นในใจเด็ก ทำให้เติบโตเป็นคนที่มีทั้ง IQ และ EQ ดีในอนาคต
2. กอด พ่อแม่ควรกอดลูกทุกวัน เพื่อให้เด็กรับรู้ว่าพ่อแม่รักและหวังดีกับเด็กเสมออีกทั้งการอบรมเด็กต้องทำด้วยความรัก ความเข้าใจ และใช้เหตุผล ไม่ควรใช้อารมณ์ บังคับ ฝืนใจ และ ไม่ดุด่าให้ลูกกลัว และเสียกำลังใจ พ่อแม่ต้องทำเป็นตัวอย่าง คอยให้คำแนะนำ พูดชมเชยเมื่อลูกทำได้ และให้รางวัล ถ้าเขาทำได้ดี ซึ่งรางวัลสำหรับเด็กเล็ก เพียงแค่กอดอย่างอ่อนโยน หอมแก้ม ตบมือให้ เท่านี้เด็กก็ภูมิใจมากแล้ว
3. เล่น พ่อแม่คือของเล่นชิ้นแรกในชีวิตเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดพ่อแม่ควรพูดคุยเล่นส่งเสียง ร้องเพลงกับเด็ก ช่วงแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน พ่อแม่ควรเลือกของเล่นที่มีเสียงและเป็นภาพ เลือกที่เด็กคว้าจับได้ อายุ 6 เดือนถึง 1 ปี ให้เด็กได้นั่งเล่นของเล่นเช่น บล็อกตัวต่อนิ่ม ลูกบอลเล็ก หรือปล่อยของลงพื้น อายุ 2-3 ปี ให้เด็กได้เล่นรูปต่อเป็นภาพ หุ่นมือ ตุ๊กตา หรือกระโดด ปีนป่าย เพื่อทดสอบทักษะร่างกายของตัวเอง เมื่ออายุ 3-5 ปี ปล่อยให้เด็กเล่นกับเด็กคนอื่น ใช้จินตนาการเกี่ยวกับการดำรงชีวิต 4. เล่า พ่อแม่สามารถเล่านิทานให้ลูกฟังได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือเมื่อเด็กอายุ 3 เดือนให้เริ่มเล่านิทานให้ฟังเป็นประจำทุกวันต่อเนื่องจนกระทั่งเด็กโต พ่อแม่ควรเลือกนิทานที่มีภาพน่ารัก รูปสัตว์ ใช้เสียงสูง ต่ำ หรือร้องเพลงประกอบขณะเล่าทุกครั้ง ควรเล่าให้จบเล่ม และเก็บหนังสือไว้ที่เดิมให้ลูกมองเห็นได้ เพราะนิทานทำให้เด็กฉลาด ได้จริงๆ ทั้งนี้ พ่อแม่ต้องเสริมการปลูกฝังจริยธรรม คุณธรรม และลักษณะที่ดีอื่นๆ ให้ลูกไปพร้อมกัน เพื่อจะได้เติบโตสมวัยในทุกๆ ด้าน การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยหากปฏิบัติตามแนวทางข้างต้นเป็นสิ่งที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ดีสมวัยในทุกด้าน พ่อ แม่ ผู้ดูแลเด็กควรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง ด้วยปัจจุบันพบเด็กมีปัญหาเรื่องพัฒนาการเป็นอย่างมากจากการเลี้ยงดูด้วยสมาร์ทโฟน เพาะปัจจุบันสมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีบทบาทสำคัญ และจำเป็นในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเข้าถึงได้ง่าย ใช้สะดวก มีประโยชน์ทั้งการติดต่อสื่อสาร การถ่ายภาพ การจัดเอกสาร ข้อมูล การเล่นอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมต่างๆ และยังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเลี้ยงเด็ก หรือใช้เป็นของเล่นเบี่ยงเบนความสนใจของเด็ก โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย เป็นช่วงวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมองเจริญสูงสุด การใช้สมาร์ทโฟนในเด็กจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและการสื่อสาร ทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้น (ชั่วคราว) และความสามารถในการเรียนรู้ลดลงได้ ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลเด็ก จึงต้องให้การช่วยเหลือดูแล และแก้ไขปัญหาที่จะส่งผลกระทบกับเด็กจากการใช้สมาร์ทโฟน ได้แก่ การให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเกี่ยวกับพัฒนาการและความต้องการพื้นฐานของเด็ก ด้วยความรักเอาใจใส่ใกล้ชิด อบรมเลี้ยงดูด้วยความเข้าใจ เพื่อตอบสนองความต้องการของเด็ก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของเด็กปฐมวัยและผู้ดูแล โดยต้องปฏิบัติตามแนวทางการลดความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากการใช้สมาร์ทโฟนอย่างเคร่งครัด
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระพุทธ สถานศึกษาที่รับดูแลเด็กปฐมวัยก็ได้รับข้อมูลจากผู้ปกครองในการเล่นสมาร์ทโฟนของเด็กที่บ้าน และในปีการศึกษา ๒๕๖๖ นี้ พบเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการหลายคน ซึ่งสาเหตุที่เด็กมีปัญหาก็เนื่องมาจากการให้เด็กอยู่กับสมาร์ทโฟน ในการนี้เพื่อให้ความรู้กับผู้ปกครองและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้วยวิธีที่เหมาะสม รวมทั้งการดูแลให้เด็กห่างจากสมาร์ทโฟน ในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพระพุทธ จึงได้ดำเนินการจัดโครงการหนูน้อยสุขภาพดี (กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้วยเทคนิค กิน กอด เล่น เล่า สมวัย ห่างไกลสมาร์ทโฟน) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้เป็นอย่างสมวัย และให้ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สมาร์ทโฟนกับเด็กปฐมวัย รวมถึงการเรียนรู้วิธีดูแลเด็กอย่างถูกต้องในสถานกาณ์ปัจจุบัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมกับวัยตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ผลจากการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยใน    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้อยละ ๘๐ เด็กมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมตามวัย

1.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการดูแลเด็กให้ห่างไกลสมาร์ทโฟน

ผู้ปกครองเด็ก ร้อยละ ๗๐ เข้าร่วมกิจกรรมและทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการดูแลเด็กให้ห่างไกลสมาร์ทโฟน

3 เพื่อสร้างความเข้าใจให้ผู้ปกครองเด็ก ในการให้ความร่วมมือส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการเด็กตาม แนวคิด กิน กอด เล่น เล่า

ผู้ปกครองเด็ก ร้อยละ ๘๐ ให้ความร่วมมือในการพาเด็กเข้ารับการประเมินพัฒนาการเด็กตามความแนะนำของครู และผู้ดูแลเด็ก

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 109 9,258.00 0 0.00
31 ก.ค. 67 กิจกรรมบรรยายให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง 109 9,258.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองได้รับความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย และเทคนิคในการส่งเสริมเด็กให้ห่างไกลสมาร์ทโฟน
  2. ผู้ปกครองให้ความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2567 16:08 น.