กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน(อสม.) ประจำปี 2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคีรีวง
รหัสโครงการ 67-L5293-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคีรีวง
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรัชฎาพร เฮ่าฮู่เที่ยน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ก.ย. 2567 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่รัฐบาลได้กำหนดการสาธารณสุขมูลฐานมาเป็นกลวิธีหลัก และกำหนดเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนางานสาธารณสุขของประเทศ บนหลักการสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพตนเองและเพื่อนบ้าน ในรูปแบบอาสาสมัครสาธารณสุขหรือ อสม. เพื่อเป็นแกนนำด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ชุมชน ด้วยมุ่งหวังให้ประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน

กระทรวงสาธารณสุขได้มีการพัฒนาศักยภาพ อสม.อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งภาวะวิกฤติและภาวะปกติ ในหลากหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทของพื้นที่ การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขด้วยการดำเนินการอบรมฟื้นฟูความรู้ อสม. โดยมุ่งหวังว่า อสม.ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จะเป็นกลไกหลักสำหรับสร้างสังคมใหม่ที่มีคุณภาพและเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพที่ดีกว่า ประกอบกับปัจจุบันซึ่งเป็นยุคสังคมดิจิตัล ข้อมูลข่าวสารต่างๆถูกส่งต่อและมีการเข้าถึงอย่างรวดเร็ว ยิ่งทำให้การสื่อสารข้อมูลอย่างถูกต้อง ทั้งตัวข้อมูลเอง วิธีการ และช่องทางการสื่อสารมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่มีผลกระทบต่อชีวิตผู้คนโดยตรง บวกกับการที่รัฐบาลมีนโยบายขับเคลื่อนประเทศไทย โดยอาศัยนวตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือ ในการส่งเสริมกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น อันรวมถึงการยกระดับการให้บริการด้านสาธารณสุข เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคีรีวง มีทั้งสิ้นจำนวน 41 คน ต้องดูแลและรับผิดชอบครัวเรือนเฉลี่ย 15-20 ครัวเรือนต่อคน ซึ่งเป็นภารกิจที่ค่อนข้างหนักและต้องอาศัยความความรู้ความสามารถในการลงพื้นที่ดูแลสุขภาพของประชาชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคีรีวง เห็นถึงความสำคัญของบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) ให้สามารถดูแลและมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆในชุมชนเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน จึงมีนโยบายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของ อสม.ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชนโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการปฏิบัติงานเพื่อให้การพัฒนาช่องทางการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันเวลา และมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อยกระดับให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรอบรู้ในด้านสุขภาพ

.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวัง ป้องกัน การควบคุมโรคเบื้องต้นร้อยละ 90

2 เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนาสามารถดำเนินงานสุขภาพชุมชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้อย่างเข้มแข็ง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีทักษะในการส่งเสริมสุขภาพ เช่น คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน,การคัดกรองผู้สูงอายุ 9 ด้าน,การคำนวณค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย,การดูแลหญิงตั้งครรภ์ และอื่นๆได้ ร้อยละ 90

3 เพื่อสนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีบทบาทในการเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงสุขภาพ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถเป็นผู้นำด้านการออกกำลังกายร้อยละ 50

4 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิตัล

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถใช้เทคโนโลยี  ดิ  ดิจิตัล(สมาร์ทอสม.)เพื่อสนับสนุนงานด้านสาธารณสุขได้ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวัง ป้องกัน การควบคุมโรคเบื้องต้นได้ มีจิตอาสาและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิตัล(สมาร์ทอสม.)เพื่อสนับสนุนงานด้านสาธารณสุข  สามารถประสานงานพัฒนาสุขภาพครอบครัวร่วมกับภาคี ตลอดจนเป็นเครือข่ายการดูแลสุขภาพร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  สามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติและแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2567 09:57 น.