กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการเกิดโรคไตเเละชะลอไตเสื่อมตำบลลุโบะบือซา ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L2501-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซา
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟิรดาวซ์ เจ๊ะโซ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวพาตีเม๊าะ ซะรีเเลเเม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.43,101.725place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (16,920.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน คือ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมามากมาย โดยเฉพาะโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมากถึงร้อยละ 17.5 ของประชากรที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เมื่อโรคดำเนินเข้าสู่ระยะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End-Stage Renal Disease,ESRD) ที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตหรือการปลูกถ่ายไต และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ทำให้สูญเสียสุขภาวะ เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ประกอบกับสถานการณ์ปัญหาของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังประเทศไทยในปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจต่อตัวผู้ป่วยเองและต่อประเทศไทยในอนาคต เพราะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการรักษาซึ่งมีราคาสูงโดยเฉพาะในระยะที่เข้าสู่การบำบัดทดแทนไต การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไตเรื้อรังและชะลอความเสื่อมของไตในกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจึงเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะการค้นหา คัดกรอง เพื่อการเฝ้าระวัง รวมถึงการติดตามดูแลให้ความรู้และคำแนะนำเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาอย่างเหมาะสม ตั้งแต่การดูแลตนเองที่บ้านจนถึงการเกิดการกระตุ้นให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพในการดูแลตนเองและดูแลผู้อื่น จนทำให้จำนวนผุ้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีจำนวนลดลงได้ในอนาคต ซึ่งเริ่มจากการดูแลคนในชุมชน ดังนั้น เพื่อให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพในกลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยง และเกิดการชะลอการเสื่อมของไตในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะบือซาจึงจัดทำโครงการป้องกันการเกิดโรคไตและชะลอไตเสื่อมขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 6.1 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันกลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยง และผู้ป่วยไม่ติดต่อเรื้อรังที่ดำเนินโรคไปสู่โรคไตเรื้อรัง 6.2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูงมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง 6.3 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในตำบลลุโบะบือซา

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

7.1 ประชุมหาแนวทางการดำเนินงานร่วมกับ อสม.และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ลุโบะบือซา 7.2 คัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ที่มีภาวะเสี่ยงโรคไตและจัดทำทะเบียน 7.3 จัดทำโครงการขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขาพตำบลลุโบะบือซา 7.4 จัดอบรมผู้ป่วยเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูง/เบาหวาน) ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ให้เกิดการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เช่น อาหาร อารมณ์ การออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงป้องกันาวะไตเสื่อม 7.5 หลังจากเข้ารับการอบรม 3 เดือน ติดตามและประเมินผู้ป่วยซ้ำจากการตรวจคัดกรอง ค่า egfr ที่ลดลง 7.6 สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 ประชาชนที่มีความเสี่ยงและผู้ป่วยโรคติดต่อไม่เรื้อรังได้รับการดูแลในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ไม่ดำเนินโรคไปสู้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 8.2 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสียงสูงมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวเหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง 8.3 จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2567 10:42 น.