กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานสำหรับครูโรงเรียน เขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา”
รหัสโครงการ L7250-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิทยาลัยพยาบาลบรมชนนีสงขลา
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 38,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยุวนิดา อารามรมย์ ตำแหน่ง อาจารย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.203099,100.595831place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest) หมายถึง ภาวะหัวใจบีบตัวอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีผลทำให้การไหลเวียนเลือดหยุดลงอย่างกะทันหัน ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายขาดออกซิเจน ซึ่งสมองสามารถทนต่อภาวะขาดออกซิเจนได้ 4 นาทีหลังจากขาดเลือด และสมองจะถูกทำลายอย่างถาวรหลังขาดเลือด 7 นาที ภาวะหัวใจหยุดเต้น ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เสียชีวิตได้ (สุปราณี, อรวรรณ, ไพรินทร์, อนิรุทธ์และสุรพล, 2565) พบว่าผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นส่วนใหญ่พบนอกโรงพยาบาลร้อยละ 78 ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพในประเทศไทย มีโรคประจำตัวที่มีการขอความช่วยเหลือมากที่สุด คือโรคหัวใจและหลอดเลือด (พรทิพย์, วาสนา, จุฑารัตน์และกรเกล้า, 2563) หากผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือด้วยวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสมตามขั้นตอนของห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิต ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอดสูง จากการศึกษาของวรรน์นา (2565) พบว่าในโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยทางอายุรกรรม (ร้อยละ 93.9) ผู้ป่วยอุบัติเหตุ (ร้อยละ 6.1) สาเหตุที่พบมากที่สุดได้แก่ Septic Shock และโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ทำให้อัตราการกลับมาสัญญาณชีพ ร้อยละ 88.6 ดังนั้นการเพิ่มชีวิตรอด ควรมีการจัดอบรมการช่วยเหลือชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support) ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้พบเห็นเหตุการณ์สามารถประเมิน และให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม
      การจัดอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพที่ถูกต้องตามแนวทางปฏิบัติเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรเรียนรู้ เพื่อให้ผู้พบเห็นเหตุการณ์ สามารถประเมินผู้ป่วย ขอความช่วยเหลือจากบุคลากรทางการแพทย์ และปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและต่อเนื่องเป็นไปตามมาตรฐานจนกว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากบุคลากรทางการแพทย์ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ซึ่งบุคลากรครูหรืออาจารย์เป็นบุคคลที่มีหน้าที่ในการสอนหนังสือ อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนเป็นจำนวนมาก หากบุคลากรครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ก็จะสามารถถ่ายทอดความรู้ไปยังบุคคลอื่น โดยเฉพาะนักเรียน หากนักเรียนพบเจอหรือประสบเหตุการณ์ดังกล่าว ก็สามารถให้การช่วยเหลือเบื้องต้นหรือโทรศัพท์ประสานแจ้งแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งสามารถให้การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันท่วงที เพิ่มโอกาสรอดแก่ผู้ที่ประสบเหตุหัวใจหยุดเต้น
    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา เป็นสถาบันการศึกษามีหน้าที่ผลิตบัณฑิตพยาบาลให้มีคุณภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทีมสุขภาพที่ต้องร่วมรับผิดชอบชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะการช่วยชีวิตผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจหยุด เต้นนอกโรงพยาบาลด้วยการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานที่ถูกต้องและทันสมัย รวมทั้งตอบสนองนโยบายโครงการ 1,000 เตียง จึงเล็งเห็นความสำคัญในการให้ความรู้และการฝึกภาคปฏิบัติ ทั้งนี้บุคลากรครู ควรมีความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานเพื่อที่จะสามารถนำไปใช้กับบุคคลในโรงเรียน นักเรียน ครอบครัวและประชาชนที่ประสบอุบัติเหตุได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จึงจัดโครงการการให้ความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพแก่บุคลากรครูในโรงเรียน เพื่อให้มีความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 เพื่อให้มีครูแกนนำของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
  1. ร้อยละ 100 ของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายมีครูแกนนำ
100.00
2 1.2 เพื่อให้ครูแกนนำของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพ และสามารถช่วยฟื้นคืนชีพบุคคลอื่นได้
  1. ร้อยละ 90 ของครูแกนนำผ่านเกณฑ์การฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
90.00
3 1.3 เพื่อให้ครูแกนนำของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายนำความรู้เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพไปเผยแพร่แก่บุคคลอื่นต่อไป
  1. ร้อยละ 10 ของครูแกนนำของโรงเรียนนำความรู้เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพไปเผยแพร่แก่นักเรียนหรือบุคคลอื่นได้
10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.1 เพื่อให้มีครูแกนนำของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 1.2 เพื่อให้ครูแกนนำของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพ และสามารถช่วยฟื้นคืนชีพบุคคลอื่นได้

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 1.3 เพื่อให้ครูแกนนำของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายนำความรู้เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพไปเผยแพร่แก่บุคคลอื่นต่อไป

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 เม.ย. 67 - 11 ต.ค. 67 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ฝึกทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานขั้นพื้นฐาน 0.00 38,950.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 160.00 12,000.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าอาหารกลางวัน 160.00 12,000.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าไวนิลโครงการ 0.00 1,000.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าตอบแทนวิทยากร 0.00 5,400.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าใบ certificate 0.00 2,800.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าคู่มือการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน 0.00 3,750.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ค่าวัสดุ 0.00 2,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีเกณฑ์นำครู (ครู ก) ในการสอน CPR ขั้นพื้นฐานจากกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
  2. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการสามารถปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานได้
  3. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการสามารถช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจได้
  4. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการสามารถถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2567 15:44 น.