กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาทักษะผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงตำบลบาเจาะ
รหัสโครงการ 67-L4127-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสูรียา อาแว
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนาซีเราะ ปุโรง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 867 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 209 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)
75.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)
65.00
3 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)
85.00
4 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง เช่น ตาต้อ กระจก เป็นต้น (คน)
80.00
5 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)
85.00
6 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)
55.00
7 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)
55.00
8 ร้อยละแผนการดูแลรายบุคคล(CP) ที่ได้รับการอนมัติและดูแล
85.00
9 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
85.00
10 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
85.00
11 ร้อยละคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ
60.00
12 ร้อยละของคนพิการที่ได้รับกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต
65.00
13 ร้อยละของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน
55.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปี 2564 ประเทศไทยมีประชากรรวม 66.7 ล้านคน ประชากรสูงอายุของประเทศไทยได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเร็วมาก เมื่อ 50 ปีก่อน ประเทศไทยมีผู้สูงอายุไม่ถึง 2 ล้านคน แต่ในปี 2564 จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มเป็น 12.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของประชากรทั้งหมดประเทศไทยกำลังจะกลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” ภายในปี 2565 นี้ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประชากรรวมของประเทศไทยจะเพิ่มช้าลง อัตราเพิ่มประชากรจะลดต่ำลงจนถึงขั้นติดลบ แต่ประชากรสูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชากรยิ่งมีอายุสูงยิ่งเพิ่มขึ้นเร็ว ในขณะที่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 4 ต่อปี ผู้สูงอายุวัยปลาย 80 ปีขึ้นไป จะเพิ่มด้วยอัตราเฉลี่ยถึงร้อยละ 7 ต่อปี กลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” (complete aged society) จากการสำรวจของกรมอนามัย (๒๕๕๖) พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ ๙๕ เจ็บป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรังซึ่งจะนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและพึ่งพิง และมีผู้ป่วยนอนติดเตียง ร้อยละ ๑นอกจากนั้นยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระดับสูงแต่ต้องดูแลตนเองหรือไม่มีคนดูแลถึงร้อยละ ๑๓ ในกลุ่มเดียวกัน รัฐบาลจึงให้ความสำคัญในการดำเนินการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ มีเป้าหมายสำคัญที่จะป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมีการเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง และหากผู้สูงอายุอยู่ในภาวะพึ่งพิงจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม กระทรวงมหาดไทยได้ขับเคลื่อนโครงการอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการตามแนวทางที่เกี่ยวข้อง ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะได้ดำเนินการตามแนวทางและเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น เพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงด้านสุขภาพพื้นฐาน การฟื้นฟูสมรรถภาพและกายภาพ ซึ่งตำบลบาเจาะมีประชากรทั้งหมด 9,596 คนพบว่ามีผู้สูงอายุจำนวน 867 คน คิดเป็นร้อยละ 9.03 ของประชากรจากการตรวจประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอลโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะพบผู้สูงอายุที่มีคะแนนเอดีแอลเท่ากับหรือน้อยกว่า ๑๑ คะแนน (ติดบ้าน ติดเตียง) จำนวน 19 คน เป็นกลุ่มที่ติดเตียง จำนวน 4 คน และกลุ่มติดบ้าน จำนวน 15 คน ซึ่งผู้สูงอายุเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือทั้งด้านบริการสาธารณสุขและด้านสังคม โดยเฉพาะกลุ่มติดเตียง ถึงแม้จะมีคนในครอบครัวดูแล แต่ก็เป็นภาระของผู้ดูแลไม่น้อย กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาทักษะผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ตำบลบาเจาะ ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดภาระของครอบครัว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาทักษะผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ตำบลบาเจาะ  ขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการบริการดูแลดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง และเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

75.00 90.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว ลดลง

65.00 90.00
3 เพื่อเพิ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าต้องได้รับการดูแล

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

85.00 90.00
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง ลดลง

80.00 90.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน

จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน มีจำนวนเพิ่มขึ้น

85.00 95.00
6 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

55.00 80.00
7 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

55.00 85.00
8 เพื่อเพิ่มการอนุมัติและนำแผนการดูแลรายบุคคล(CP)ไปปฏิบัติ

แผนการดูแลรายบุคคล(CP) ที่ได้รับการอนมัติและดูแล เพิ่มขึ้น

85.00 90.00
9 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

85.00 95.00
10 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลงลด

85.00 90.00
11 เพื่อเพิ่มคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรภาพ

ร้อยละของคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟู

60.00 75.00
12 เพื่อเพิ่มคนพิการที่เข้าถึงกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต

ร้อยละของคนพิการที่ได้รับกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต

65.00 70.00
13 เพื่อเพิ่มผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

ร้อยละผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 6 เดือน

55.00 85.00
14 เพื่อดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง

ร้อยละของผู้ดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง

70.00
15 เพื่อสร้างคุณค่าให้ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง

ร้อยละของการสร้างคุณค่าให้ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 ขั้นเตรียมการ(19 เม.ย. 2567-30 เม.ย. 2567) 6,720.00            
2 ขั้นดำเนินการ(19 เม.ย. 2567-30 พ.ค. 2567) 23,280.00            
3 การประเมินผล(19 เม.ย. 2567-30 ก.ย. 2567) 0.00            
รวม 30,000.00
1 ขั้นเตรียมการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 6,720.00 0 0.00
19 - 30 เม.ย. 67 สำรวจผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ และประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล และสรุปข้อมูลผู้สูงอายุที่มีคะแนนประเมิน เอดีแอล เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 0 0.00 -
19 - 30 เม.ย. 67 ปรึกษาปัญหารายกรณีกับ CM เพื่อประกอบการจัดทำโครงการ 0 0.00 -
19 - 30 เม.ย. 67 จัดทำข้อเสนอโครงการและเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ 0 0.00 -
19 - 30 เม.ย. 67 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์กายภาพบำบัด คลายกล้ามเนื้อ และครุภัณฑ์การแพทย์ที่จำเป็นตามแผนการดำเนินงาน 30 6,720.00 -
2 ขั้นดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 23,280.00 0 0.00
19 เม.ย. 67 - 30 พ.ค. 67 จัดกิจกรรมอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ และญาติผู้ดูแล อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อเป็นพี่เลี้ยงในการดูแลผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียง 80 23,280.00 -
3 การประเมินผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
19 เม.ย. 67 - 30 พ.ค. 67 1. อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นลงพื้นที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ณ ที่ครัวเรือนตามแผนการดูแลผู้สูงอายุรายบุคคล (Care plan) 0 0.00 -
19 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ได้รับการบริการดูแลด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ 0 0.00 -

วิธีดำเนินการ วิธีดำเนินการ
1. สำรวจผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ และประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล และสรุปข้อมูลผู้สูงอายุที่มีคะแนนประเมิน เอดีแอล เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 2. ปรึกษาปัญหารายกรณีกับ CM เพื่อประกอบการจัดทำโครงการ 3. จัดทำข้อเสนอโครงการและเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ 4. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์กายภาพบำบัด คลายกล้ามเนื้อ และครุภัณฑ์การแพทย์ที่จำเป็นตามแผนการดำเนินงาน ขั้นดำเนินการ 1. จัดกิจกรรมอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ และญาติผู้ดูแล อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อเป็นพี่เลี้ยงในการดูแลผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียง
2. ดำเนินการลงเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ประเมินการทำกิจวัตรประจำวัน 3. สรุปผลรายงานผลการดำเนินงานคณะกรรมการกองทุน การประเมินผล 1. อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นลงพื้นที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ณ ที่ครัวเรือนตามแผนการดูแลผู้สูงอายุรายบุคคล (Care plan) 2. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ได้รับการบริการดูแลด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการบริการดูแลด้านสาธารณสุขโดยอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ณ ครัวเรือน
    1. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ