กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ในเยาวชนและประชาชน ในตำบลจวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ปีงบประมาณ 2567

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ในเยาวชนและประชาชน ในตำบลจวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L8422-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลเจาะไอร้อง
วันที่อนุมัติ 22 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนีซะ บือซา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหายาเสพติดยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญและต้องเร่งรัดในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ตามที่กระทรวงกำหนด ดังนั้นการนำเอายุทธศาสตร์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดมาใช้ในการดูแลเยาวชนให้ห่างไกลจากยาเสพติดนั้นเป็นเรื่องที่ต้องปลุกฝั่งเรื่องความรู้ยาเสพติดวิธีการปฏิเสธเพื่อนเพราะปัจจุบันสาเหตุที่ทำให้เยาวชนไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดส่วนใหญ่มาจากเพื่อน ภาวะเครียด ความผิดหวังและปัญหาครอบครัวเนื่องจากสถานการณ์ สถานการณ์ ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดของโรงพยาบาลเจาะไอร้อง ของตำบลจวบมีอัตราผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดได้รับการบำบัดเพิ่มขึ้นทุกปี ปี 2564 จำนวน 32 คน ปี 2565 จำนวน35 คนและปี2566 จำนวน 38 คนในขณะเดียวกันพบว่าเยาวชนที่มีการเสพสารเสพติดอยู่ในกลุ่มอายุ 9-24 ปีซึ่งเป็นเยาวชนที่กำลังเติบโต ส่วนมากที่ทำให้เยาวชนเสพสารเสพติดมาจาก เพื่อน ภาวะเครียด การเข้าสังคมและครอบครัว
      ดังนั้นโรงพยาบาลเจาะไอร้อง อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส จึงเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลเยาวชนตำบลจวบ เพื่อห่างไกลจากยาเสพติด ทางโรงพยาบาลเจาะไอร้อง จึงดำเนินการจัดจัดโครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBERในเยาวชนและประชาชน ในตำบลจวบ อ.เจาะไอร้องจ.นราธิวาส ปี งบประมาณ 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทัศนคติและค่านิยมที่ถูกต้องเกี่ยวกับยาเสพติด รวมถึงความรู้ ความเข้าใจถึงโทษและพิศภัยของปัญหายาเสพติด 2. เพื่อให้หาเครือข่ายเด็กและเยาวชนในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ 3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีศักยภาพในการดำเนินชีวิตเป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด 4.เพื่อให้เยาวชนและประชาชนมีความรู้เรื่องยาเสพติด 5.คณะกรรมการหมู่บ้านให้ความสำคัญในการป้องกันและบำบัดรักษา ผู้ติดสารเสพติดในหมู่บ้าน 6.ลดการเสพซ้ำในผู้ผ่านการบำบัดร้อยละ 20

1.เยาวชนตำบลจวบมีความรู้เรื่องยาเสพติดร้อยละ 80 2.มีแกนนำในการดำเนินงานยาเสพติดของเยาวชนแต่ละหมู่บ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 3.เยาวชนและประชาชนหมู่ที่ 1-8 ต.จวบมีความรู้เรื่องยาเสพติดร้อยละ 80 4.ลดการเสพซ้ำในผู้ผ่านการบำบัดร้อยละ 20

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 50,000.00 0 0.00
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ประชุมชี้แจงคณะกรรมการดำเนินงานชมรมทูบีนัมเบอวันชุมชนบ้านโคกและชุมชนเจาะไอร้อง 0 12,000.00 -
1 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติดให้โทษและวิธีการไม่ให้ไปยุ่งกับยาเสพติดในเยาวชนและการสร้างแกนนำในการดำเนินงานป้องกันยาเสพติดในชุมชนหมู่ที่1 - 8 ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส 0 21,000.00 -
1 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องเรื่องยาเสพติดให้โทษในประชาชน หมู่ที่ 1- 8 ต.จวบ 0 17,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อให้เยาวชนเป็นแกนนำในการต่อต้านยาเสพติด 2.ไม่พบผู้เสพรายใหม่เยาวชนกลุ่มเสี่ยง 3.เพื่อให้เยาวชนและประชาชนมีความรู้เรื่องยาเสพติด 4.คณะกรรมการหมู่บ้านให้ความสำคัญในการป้องกันและบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดในหมู่บ้าน 5.ลดการเสพซ้ำในผู้ผ่านการบำบัดร้อยละ 20

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2567 00:00 น.