กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสูงวัยใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 67-L1485-2-36
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 13 กันยายน 2567
งบประมาณ 28,210.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกิตติญา แก้วคงทอง ตำแหน่ง เลขานุการชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยได้เข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุ" มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 กล่าวคือมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ อันเป็นผลมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น การที่ประชากรวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศต้องมีรายจ่ายด้านสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ครอบครัวต้องแบกรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนรายได้หรือรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต รวมถึงความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ความพิการหรือทุพพลภาพ สภาพครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต จากที่มีคนหลายรุ่นอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่ตามลำพังขาดผู้ดูแล และอาจเกิดความรู้สึกว่าชีวิตไร้ค่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงควรดำเนินการเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และมีบทบาทสำคัญ รวมทั้งต้องส่งเสริมสนับสนุนและแสวงหาความรู้ร่วมมือจากภาคีเครือข่ายเพื่อให้ผู้สูงอายุมีพื้นที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดภูมิปัญญา หรือการพัฒนาตนเองด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และชุมชนประจักษ์ในศักยภาพและพลังของผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีความสุขในการดำรงชีวิต ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน สังกัดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบ 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่1,3,8,9 และหมู่ที่12 มีผู้สูงอายุทั้งหมด 770 คน เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุทั้งหมด 262 คน คิดเป็นร้อยละ 34.02 ของผู้สูงอายุ โรคประจำตัวที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 305 คน คิดเป็นร้อยละ 39.61 ของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะเหลียน ได้ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ โดยการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เช่น การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต เพื่อส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้สูงอายุในการดูแลตนเอง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพกาย สุขภาพจิต สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และเพื่อเป็นการสร้างขวัญ และกำลังใจให้ผู้สูงอายุ มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่กลุ่มเป้าหมายในการดูแลตนเอง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

 

2 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

 

3 เพื่อเป็นการสร้างขวัญ กำลังใจให้กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติที่ดี ต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อ ดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมคณะกรรมการชมรมเพื่อหารือหรือการเสนอโครงการ 2.สำรวจกลุ่มเป้าหมาย 3.เขียนโครงการเสนอของบประมาณ 4.ประสานขอความร่วมมือโรงพยาบาลปะเหลียนขอรับการสนับสนุนวิทยากร 5.ดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการ 6.ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ 7.สรุปและรายงานผลการดำเนินงานต่อประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหาร ส่วนตำบลปะเหลียน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายมีภูมิคุ้มกันในการดูแลตนเอง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี 2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพกาย และสุขภาพจิต 3.กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติที่ดี ต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า 4.กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพกายและจิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2567 14:26 น.