กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ “เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ”
รหัสโครงการ 67-L1485-2-42
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านลำแคลง
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 13 กันยายน 2567
งบประมาณ 9,758.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนารถยา มีจันทร์ (ครู)
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 152 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 19 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคติดต่อนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ ทั้งโรคติดต่อประจำถิ่น และโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ และโรคที่อาจจะเกิดขึ้นมีดังนี้ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โรคหัด หัดเยอรมัน นอกจากจะติดต่อผ่านการหายใจเอาเชื้อเข้าไปแล้ว การที่มือไปสัมผัสกับสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้ร่วมกันกับบุคคลอื่น หรือเครื่องใช้ในที่สาธารณะ โรคติดต่อทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย โรคตับอักเสบชนิดเอ โรคบิดอหิวาตกโรค โรคพยาธิชนิดต่างๆซึ่งติดต่อได้จาการที่มือปนเปื้อนเชื้อเหล่าแล้วหยิบจับอาหารเข้าไป โรคติดต่อทางการสัมผัสโดยตรง เช่น โรคตาแดง โรคเชื้อรา แผลอักเสบที่ผิวหนัง
โรคติดต่อได้หลายทาง เช่น อีสุกอีใส อาจติดต่อได้จาการหายใจและสัมผัสโรคติดเชื้อเหล่านี้ ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมาทางโรงเรียนบ้านลำแคลงพบว่ามีนักเรียน ครูและบุคลากรที่ลาป่วยด้วยโรคติดต่อจนต้องขาดเรียนและไม่ได้มาทำงาน มีการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจมากเป็นอันดับหนึ่ง คือหวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) รองลงมาคือโรคติดต่อทางการสัมผัสโดยตรง คือโรคตาแดง โรคมือเท้าปากในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี
เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ ทางโรงเรียนจึงมีมาตรการที่สำคัญ คือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพที่แออัด หรือมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ รวมถึงการรักษาสุขภาพเบื้องต้น การทำความสะอาดอาคารห้องเรียนให้สะอาดอยู่เสมอ ดังนั้น เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านลำแคลงทุกคนสามารถเข้าถึงการบริการอนามัยโดยเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ รวมถึงโรคระบาด หรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทางโรงเรียนบ้านลำแคลง หมู่ที่ ๔ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จึงจัดทำโครงการ “เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ”

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคลากรโรงเรียนบ้านลำแคลงมีความรู้ และสามารถทำสบู่เหลวล้างมือ และน้ำยาอเนกประสงค์ใช้ในโรงเรียน

 

2 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ (ตัวอย่างโรค สาเหตุ และการป้องกัน)

 

3 เพื่อสร้างความตระหนักให้นักเรียน ครูและบุคลากรในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ และลดอัตราการเกิดโรคติดต่อภายในโรงเรียน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมเพื่อชี้แจงการดำเนินงานโครงการ     ๒. เสนอโครงการเพื่อให้ประธานอนุมัติ     ๓. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการอบรม       ๔. จัดทำสบู่เหลวล้างมือ น้ำยาอเนกประสงค์     ๕. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. นักเรียน ครู และบุคลากรโรงเรียนบ้านลำแคลงมีความรู้ และสามารถทำสบู่เหลวล้างมือ และเจลแอลกอฮอล์ไว้ใช้เองในโรงเรียน
    ๒. มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ (ตัวอย่างโรค สาเหตุ และการป้องกัน)     ๓. นักเรียน ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านลำแคลงเกิดความตระหนักในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ และมีอัตราการเกิดโรคติดต่อภายในโรงเรียนลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2567 11:59 น.