กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลดภาวะซีดในเด็กปฐมวัย และหญิงวัยเจริญพันธุ์ สู่การตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพ
รหัสโครงการ 67-L3329-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอม
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 37,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริขวัญ เพ็ญสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.337779,100.111141place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่งทำให้มีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ จะพบว่ามีอาการซีดของเล็บและเปลือกตาด้านในด้วย ซึ่งจากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน – 12 ปี ระหว่างปีพ.ศ.2553-2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey (SENUTS) เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบทถึงร้อยละ 41.7 และเขตเมืองมีความชุกร้อยละ 26 โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก 1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น และ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหารและการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กไทยช่วงอายุ 6 เดือน– 5 ปี ได้รับยาเสริมธาตุเหล็ก

 

2 เพื่อให้เด็กไทยช่วงอายุ 6-12 เดือน และ 3-5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง

 

3 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับการคัดกรองภาวะซีดและได้รับยาเสริมธาตุเหล็กเพื่อรักษาภาวะซีด

 

4 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีความตระหนักเพื่อป้องกันภาวะซีนในช่วงก่อนการตั้งครรภ์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อของบจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลควนเสาธง
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กับประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบและเชิญชวน พ่อแม่ หรือผู้ปกครองของเด็กช่วงอายุ 6 เดือน – 5 ปี เข้าร่วมโครงการ
  3. ค้นหาและรวบรวมข้อมูลหญิงวัยเจริญพันธ์ที่เคยตั้งครรภ์และมีภาวะซีนในครรภ์ที่ผ่านมา ประชาสัมพันธ์ให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เตรียมตัวตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
  4. จัดอบรมให้ความรู้พ่อแม่ หรือผู้ปกครองเด็กช่วงอายุ 6 เดือน – 5 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุ์ เรื่องภาวะซีด และการป้องกัน แก้ไขภาวะซีด
  5. ตรวจคัดกรองภาวะซีดในเด็กช่วงอายุ 6 เดือน – 5 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุ์ ครั้งที่ 1 พร้อมทั้งบอกผลการตรวจภาวะซีดให้รับทราบ
  6. บริการจ่ายยาเสริมธาตุเหล็กในเด็กช่วงอายุ 6 เดือน – 5 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เข้าร่วมโครงการเป็นรายบุคคลทุกสัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้ง รวม 26 ครั้ง
    1. ตรวจคัดกรองภาวะซีดในเด็กช่วงอายุ 6 เดือน – 5 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุ์ ครั้งที่ 2 หลังจากดำเนินการให้ยาเสริมธาตุเหล็ก 3 เดือน กรณีตรวจพบภาวะซีดหลังให้การรักษาส่งต่อรพ.ตะโหมดเพื่อค้นหาปัญหาและแก้ไขปัญหาต่อไป
    2. ติดตามประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กช่วงอายุ 6 เดือน – 5 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุ์ ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางและได้รับยาเสริมธาตุเหล็กอย่างทั่วถึง
  2. เด็กช่วงอายุ 6 เดือน – 5 ปี และหญิงวัยเจริญพันธุ์ ไม่มีภาวะซีด มีระดับ Hct อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 09:45 น.