กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในเลือดของเกษตรกร
รหัสโครงการ 67-L3329-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอม
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 6,276.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริขวัญ เพ็ญสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.337779,100.111141place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า  เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง  โรคต่อมไร้ท่อโรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
ในปัจจุบันเกษตรกรหันมาใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช แทนการใช้พืชที่เป็นสมุนไพร หรือใช้วิธีชีวภาพปราบศัตรูพืชกันมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่มั่นใจในการเลือกบริโภคอาหารประเภทผัก และผลไม้ ซึ่ง หมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 10 ตำบลแม่ขรี เป็นพื้นที่ที่ประชากรมีอาชีพเป็นเกษตรกร จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านปลักปอม มีการตรวจสารพิษตกค้างในผัก ผลไม้ พบว่ามีการตรวจพบสารพิษตกค้างในพืชผัก ผลไม้
จากการสอบถามข้อมูลการบริโภคผักผลไม้ของประชาชนในพื้นที่ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่นิยมซื้อผักที่แม่ค้านำมาขายที่ตลาด มากกว่าการปลูกผักกินเอง แต่มีประชาชนบางส่วนในพื้นที่มีการปลูกผักกินเอง และถ้าเหลือจากกินก็จะนำไปขายที่ตลาดใกล้บ้านจากการสอบถามผู้ปลูกผักก็ยังพบการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชอยู่ ดังนั้นเพื่อเป็นการยับยั้ง และปลูกจิตสำนึกของเกษตรกรผู้ปลูกผักทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอม จึงได้ทำโครงการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในเลือดของเกษตรกร ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพผู้มีภาวะเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

 

2 เพื่อให้เกษตรรู้ว่าตัวเองมีสารตกค้างในร่างกายระดับใด

 

3 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้และตระหนักถึงอันตรายในการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช

 

4 เพื่อให้เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสารเคมีให้ถูกต้อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจ
  2. เตรียม เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโดยการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส
  3. ประสานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.บ้านปลักปอม เพื่อเตรียมการและวางแผนการดำเนินงานตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง
  4. จัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ ๑ ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย
  5. จัดอบรมให้คามรู้เกษตรกร เพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรับประทานสมุนไพรเพื่อขับสารพิษตกค้างในร่างกาย
  6. ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ ๒
  7. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน ๘. ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง
  2. เกษตรกรได้รับการตรวจเลือด และรู้ผลมีสารตกค้างอยู่ในระดับใด
  3. เกษตรกรมีความรู้และเข้าใจอันตรายจากการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช
  4. เกษตรกรมีความรู้ในการป้องกันตัวเองหากมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 10:50 น.