กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กศาลาใหม่สุขภาพฟันดี ไม่มีผุ
รหัสโครงการ 67-L2487-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 31,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซีตีฆอรีเย๊าะ อูมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสถานการณ์ฟันผุในเด็กไทยพบว่าเด็กเริ่มมีฟันผุตั้งแต่อายุ 9 เดือน และพบว่าเด็กอายุ 3 ปีมีฟันผุเฉลี่ย 3 ซี่ต่อคน สาเหตุหลักของฟันผุในเด็กเล็กมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เช่น การให้เด็กทานขนมหรือนมที่มีรสหวานเป็นประจำ การปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนมหลังจากฟันขึ้นแล้ว หรือผู้ปกครองละเลยเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยไม่ได้เริ่มแปรงฟันตั้งแต่น้ำนมซี่แรกขึ้น ผลกระทบของโรคฟันผุในเด็กสามารถส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปากในอนาคตได้ การมีฟันน้ำนมผุ เด็กจะปวดฟัน เคี้ยวอาหารไม่ได้ ร่างกายจะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ส่งผลต่อการเจริญเติบโต อีกทั้งอาการปวดฟันยังส่งผลต่อการนอนหลับและการเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้ล้วนกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กตัวเล็กๆ สามารถขัดขวางพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และสติปัญญาได้นอกจากนี้เด็กที่มีฟันน้ำนมผุก็มักจะพบว่าฟันแท้ผุไปด้วย เนื่องจากเด็กที่มีฟันผุจะมีเชื้อก่อโรคฟันผุในช่องปากมากกว่าปกติซึ่งจะส่งผลให้ฟันแท้ที่กำลังจะขึ้นใหม่นั้นเกิดฟันผุได้เช่นเดียวกัน ผู้ปกครองจึงควรให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพช่องปากและการปลูกฝังเด็กในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อให้เด็กมีคุณภาชีวิตที่ดี เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีฟันที่แข็งแรงและไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ผู้ปกครองหลายคนคงกำลังสงสัยว่าลูกอายุยังน้อยแต่ทำไมเริ่มมีฟันผุแล้ว ความจริงแล้วฟันผุสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกงอกขึ้นมา โดยมีปัจจัยที่ทำให้ฟันผุคือพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมและการดูแลความสะอาดช่องปากที่ไม่ทั่วถึง (https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/kid-and-decay-tooth/) โรคฟันผุเกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องปากร่วมกับเศษอาหารและน้ำลาย สะสมเป็นคราบขี้ฟันหรือคราบแบคทีเรีย ซึ่งมีลักษณะเหนียวเกาะติดแน่นอยู่ตามผิวฟัน ไม่สามารถหลุดออกจากการบ้วนน้ำหรือการเช็ดเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดเชื้อโรคเหล่านี้แบคทีเรียเหล่านี้สามารถเปลี่ยนน้ำตาลและแป้งให้เป็นกรดที่มีฤทธิ์ทำลายผิวฟันจนเกิดเป็นรูเล็กๆ เมื่อรูเล็กๆ ขยายใหญ่ขึ้น เด็กจะเริ่มมีอาการเสียวฟัน และปวดฟันได้ ฟันน้ำนมจะเป็นฟันที่เด็กใช้งานไม่น้อยกว่า 5-10 ปี ก่อนจะมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ ฟันน้ำนมของเด็กนั้นมีโอกาสผุได้ง่ายและลุกลามไวกว่าฟันแท้ เนื่องจากชั้นเคลือบฟันน้ำนมมีความบางกว่าฟันแท้ การเลี้ยงดูที่มองข้ามเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไป เช่น การให้เด็กดื่มนมจากขวดและหลับไปพร้อมกับขวดนม หรือการปล่อยให้เด็กกินขนมหวานตามใจชอบแล้วไม่ได้แปรงฟัน เมื่อเชื้อแบคทีเรียได้น้ำตาลเป็นอาหารก็จะผลิตกรด และกรดเหล่านี้จะขังอยู่ในแผ่นคราบขี้ฟันเป็นเวลานาน เมื่อกรดสัมผัสฟันเป็นเวลานานก็จะทำให้เกิดการทำลายของผิวฟันอย่างรวดเร็ว หากไม่มีการกำจัดคราบขี้ฟันเหล่านี้ (https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/kid-and-decay-tooth/) จากการประเมินการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็ก ปี 2565-2566 พบว่า ร้อยละเด็ก 0-2 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก จำนวน 319 คน, 243 คน ร้อยละ 81.38, 56.51 ตามลำดับ ได้รับการทาฟลูออไรด์ จำนวน 319 คน, 239 คน ร้อยละ 81.38, 55.58 และร้อยละเด็ก 3-5 ปี ได้รับการตรวจช่องปาก จำนวน 262 คน, 290 คน ร้อยละ 73.80, 90.06 ตามลำดับ ได้รับการทาฟลูออไรด์ จำนวน 272 คน, 293 คน ร้อยละ 76.62, 90.99 ตามลำดับ และร้อยละเด็ก 6-12 ปี ได้รับการตรวจช่องปาก จำนวน 407 ร้อยละ 37.55ได้รับบริการทันตกรรม จำนวน 419 คน, 469 คน ร้อยละ 38.65, 42.71 ตามลำดับ ในเด็กอายุครบ 18 เดือน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก 61 คน, 65 คน ตามลำดับ พบว่ามีฟันผุในฟันน้ำนม จำนวน 10 คน, 7 คน คิดเป็นร้อยละ 16.39, 10.79 ตามลำดับ และในเด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก44 คน, 93 คน ตามลำดับ พบว่ามีฟันผุในฟันน้ำนม จำนวน 35 คน, 44 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33, 47.31 ตามลำดับ เพื่อลดอัตราการเกิดฟันผุในกลุ่มวัยเด็กเล็ก ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราฟันผุในฟันน้ำนม ในเด็ก อายุ 0-5 ปี
  1. เด็กอายุครบ 18 เดือน พบฟันผุน้ำนม ลดลงจากปี 2566
  2. เด็กอายุครบ 3 ปี พบฟันผุในฟันน้ำนม ลดลงจากปี 2566
1.00
2 2. เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี ที่เสี่ยงต่อฟันผุ ได้รับการเคลือบฟลูออไรด์/บริการทันตกรรม
  1. เด็กอายุ 0-2 ปี ได้รับการเคลือบฟลูออไรด์/ได้รับบริการทันตกรรม มากกว่าร้อยละ 50
  2. เด็กอายุ 3-5 ปี ได้รับการเคลือบฟลูออไรด์/ได้รับบริการทันตกรรม มากกว่าร้อยละ 50
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 400 31,300.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 6.1 กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปาก เคลือบฟลูออไรด์ และบริการทันตกรรม 0 14,300.00 -
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 6.2 จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลฟันน้ำนม ป้องกันฟันผุ ในผู้ปกครอง 100 9,500.00 -
1 ม.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 6.3 จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลฟันน้ำนม ป้องกันฟันผุ 300 7,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ไม่พบปัญหาฟันผุในฟันน้ำนม ในเด็ก อายุ 0-5 ปี
  2. เด็กอายุ 0-5 ปี ที่เสี่ยงต่อฟันผุ ได้รับการเคลือบฟลูออไรด์/บริการทันตกรรมทุกคน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 11:21 น.