กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปลักปอม รู้เร็ว เปลี่ยนไว เข้าใจ BEFAST ( โรคหลอดเลือดสมอง )
รหัสโครงการ 67-L3329-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปลักปลอม
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 29,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริขวัญ เพ็ญสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.337779,100.111141place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสมต่างๆ เป็นหลัก เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม และการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำหนักเกิน และอ้วน ที่นำไปสู่การเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการดูแลรักษา จะยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และเกิดการสะสมจนเป็นโรคเรื้อรังได้ และเกิดปัญหาภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามนมาอีกมากมาย อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในอนาคตตามมา โดยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาระดับโลกที่คร่าชีวิตคนประมาณ 41 ล้านคนต่อปี หรือคิดเป็น 74% ของผู้คนที่เสียชีวิตทั่วโลก โดยองค์กรอนามัยโลก (WHO) 2 ทำนายว่าในปี พ.ศ. 2573 ประชากรโลกประมาณ 23 ล้านคนจะเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โดย 85% อยู่ในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย ในปัจจุบันการรักษาโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากเน้นการรักษาระยะเฉียบพลันโดยเฉพาะการสลายลิ่มเลือดที่อุดตัน เพื่อให้เลือดสามารถกลับมาเลี้ยงสมองส่วนที่ขาดเลือดให้เร็วที่สุด เพื่อลดขนาดสมองที่ขาดเลือดให้เล็กที่สุด ซึ่งประกอบด้วย การให้ยาสลายลิ่มเลือดและการดูแลรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะ ซึ่งการรักษาข้างต้นช่วยลดการเสียชีวิตและภาวะทุพลภาพของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญโดยการรักษาข้างต้นต้องอาศัยระยะเวลาหลังจากมีอาการเพื่อพิจารณาผลดีผลเสียในการให้การรักษา หากผู้ป่วยได้รับการรักษาข้างต้นภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากมีอาการจะส่งผลให้การฟื้นตัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบดีขึ้นเร็ว จากการดำเนินงานในพื้นที่ของเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอม งบประมาณ 2566 พบว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานที่มีภาวะหลอดเลือดสมองรายเดิมกลับมาเป็นโรคหลอดเลือดสมองซ้ำจำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.68 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.075
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปลักปอมมีความมุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคหลอดเลือดสมอง จึงได้จัดทำโครงการ“ ปลักปอม รู้เร็ว เปลี่ยนไว เข้าใจ BEFAST ( โรคหลอดเลือดสมอง ) ”  ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบลดลงจากเดิม และสามารถเข้าสู่ระบบ stroke fast track ของโรงพยาบาลตะโหมดได้ทันเวลามากขึ้น

 

2 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตามหลัก 3 อ. 2 ส.

 

3 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเสี่ยงการเกิดหลอดเลือดสมองที่ลดลง ภายหลังการเข้าร่วมโครงการและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อของบจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลควนเสาธง
  2. ประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ( CVD risk ) ก่อนการดำเนินงานผ่าน Application Thai CV risk หลังจากนั้นบันทึกผลการประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองรายบุคคลลงในแบบบันทึกการติดตามผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง พร้อมทั้งวัดระดับเกลือโซเดียมในอาหารก่อนการจัดกิจกรรม
  3. คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินกิจกรรมตามผลการประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ( CVD risk )  พร้อมทั้งวัดความดันโลหิตครั้งที่ 1
  4. แจ้งผลการประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองให้กับประชนชากลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการรายบุคคล
  5. จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงการทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงตามหลัก 3 อ. 2 ส. เพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองตีบในอนาคต และประเมินผลหลังให้ความรู้ประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
  6. จัดกิจกรรม “ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ” โดยการเชิญผู้ป่วยในชุมชนที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มาเล่าประสบการณ์การเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้พูดคุยซักถาม
  7. เยี่ยมบ้าน ย่องครัว ลงเยี่ยมบ้านประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง - สูงมากต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ เพื่อประเมินวัดความดัน และสุ่มวัดประมาณเกลือในอาหารในครัวที่รับประทานในมื้อนั้น หลังจากนั้นติดสติ๊กเกอร์ สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง และเบอร์โทรเรียกรณีฉุกเฉินตามบ้านเรือน เพื่อง่ายในการเข้าถึงการบริการของหน่วยบริการฉุกเฉินโรงพยาบาลตะโหมดและให้คำปรึกษารายบุคคลที่บ้าน
  8. ติดตามประเมินความคืบหน้า การประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง( CVD risk ) ครั้งที่ 2 บันทึกผลการประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองรายบุคคลลงในแบบบันทึกการติดตามผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง พร้อมทั้งวัดระดับเกลือโซเดียมในอาหารหลังจากการจัดกิจกรรม
  9. ติดตามประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองมีความรู้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองได้ถูกต้อง
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองมีผลการประเมินภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองดีขึ้น
  3. ไม่พบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่เพิ่มขึ้นและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายเดิมไม่เกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นจากเดิม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 11:23 น.