โครงการป้องกันควบคุมโรควัณโรคในชุมชนท่าสาป ปี 2567
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันควบคุมโรควัณโรคในชุมชนท่าสาป ปี 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L8412-04-009 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป |
วันที่อนุมัติ | 3 เมษายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 10,480.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวพัทราวรรณ บุญประกอบ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.538,101.235place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เคยถูกจัดลำดับโดยองค์การอนามัยโลกให้อยู่ในกลุ่ม 14 ประเทศ ที่มีภาระวัณโรคสูง ได้แก่ มีภาระวัณโรคสูง (TB) วัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี (TB/HIV)และวัณโรคดื้อยา หลายขนาน (MDR-TB) สูงทั้ง3 ประเภท ในปีพ.ศ.2564–2568 องค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ทบทวนประเทศที่มีภาระวัณโรคสูง ซึ่งประเทศไทยไม่ถูกจัดในวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) สูงแต่ยังอยู่ในประเทศที่มีภาระวัณโรคสูง (TB)และวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ เอชไอวี (TB/HIV) 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีนโยบายเร่งรัดการคัดกรองวัณโรคโดยการถ่ายภาพรังสี ทรวงอก (chest X-ray) วินิจฉัยวัณโรคด้วยวิธีอณูชีววิทยา (molecular testing) ทดสอบความไว ของเชื้อต่อยารักษาวัณโรค (DST) ในผู้ป่วยวัณโรค และรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาด้วยสูตรยาที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ระยะเวลาการรักษาสั้นลง ซึ่งทำให้สถานการณ์วัณโรคของประเทศไทยดีขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทย มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องอาศัย ความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคและวัณโรคดื้อยาเพื่อนำเข้าสู่ กระบวนการรักษาโดยเร็ว ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการควบคุมวัณโรค
จะเห็นได้ว่าวัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั้งระดับประเทศ สำหรับสถานการณ์วัณโรค 5 ปี ย้อนหลังในตำบลท่าสาปปี 2562-2566 มีผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 8, 11, 10, 6, 10 รายตามลำดับ รวมผู้ป่วย วัณโรครายใหม่ จำนวน 45 ราย อัตราป่วยวัณโรคในตำบลท่าสาป ปี 2566 มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาปได้ร่วมกับเทศบาลตำบลท่าสาป จัดทำโครงการโครงการป้องกันควบคุมโรควัณโรคในชุมชนท่าสาป ปี 2567 ขึ้นเพื่อดำเนินการควบคุมวัณโรค เริ่มตั้งแต่การคัดกรอง วินิจฉัยและการรักษาวัณโรคตามแนวทางวัณโรคแห่งชาติ เพื่อให้ผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ในพื้นที่ ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทันเวลา และต่อเนื่องโดยเน้นการควบคุมกำกับการรักษาแบบมีพี่เลี้ยงโดยอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมควบคุมกำกับการกินยาแบบมีพี่เลี้ยงที่มีคุณภาพ ในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคที่รักษาตัวที่บ้านได้ และเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงได้ทันท่วงที
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1 .เพื่อให้แกนนำมีความรู้ ในการคัดกรองวัณโรค และมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคที่รักษาตัวที่บ้านได้
|
||
2 | 2. เพื่อให้ผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ในพื้นที่ ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทันเวลา และต่อเนื่องโดยเน้นการควบคุมกำกับการรักษาแบบมีพี่เลี้ยงโดยอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่
|
||
3 | 3. เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านได้ทันท่วงที
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- แกนนำสุขภาพได้รับความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยโรควัณโรคและแนวทางการคัดกรองที่ถูกต้อง
- ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการดูแลตามแนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ โดยเน้นการควบคุมกำกับการรักษาแบบมีพี่เลี้ยง (DOTs) โดยอาสาสมัครสาธารณสุข
- แกนนำมีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้าน
เยี่ยมบ้านติดตามผู้ป่วย และการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 14:03 น.