กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝากครรภ์คุณภาพ ตำบลศาลาใหม่แม่ลูกสุขภาพดี ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2487-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 14,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางโศภนิศ ทองชาติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัยเพื่อให้เด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการอย่างองค์รวมทั้งสุขภาวะทางกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ซึ่งปัจจัยสำคัญประการหนึ่งเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวคือการได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพ ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตัวในด้านสุขภาพที่ดี ได้แก่ ภาวะโภชนาการ การดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ กิจกรรมทางด้านร่างกาย และการออกกำลังกาย การละเว้นจากบุหรี่เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือยาอื่นๆในขณะตั้งครรภ์ การยอมรับและจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม ลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์เช่น ภาวะขาดสารอาหารโลหิตจางขาดไอโอดีนและพลังงาน ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย (น้อยกว่า 2,500 กรัม) ทารกพิการแต่กำเนิดรวมทั้งการคลอดตาย จากการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปี 2566 พบว่าหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทั้งหมดจำนวน 147 คน มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (Early ANC) จำนวน 127 คน ร้อยละ 86.39 (สูงกว่วตัวชี้วัดมากกว่าร้อยละ 80) มาบริการฝากครรภ์ อย่างน้อย 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ จำนวน 113 คน ร้อยละ 77.93 (ต่ำกว่าตัวชี้วัดมากกว่าร้อยละ 80) ซึ่งการรับบริการตามนัด จะทำให้ จนท.สาธารณสุขดูแลปัจจัยเสี่ยงต่างๆระหว่างการตั้งครรภ์ได้ดียิ่งขึ้น สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความเสี่ยง ได้พบแพทย์ร้อยละ 100 และมีหญิงคลอดทั้งหมด 142 คน ทุกคนคลอดในสถานบริการ คิดเป็นร้อยละ 100 และหญิงคลอดได้รับบริการดูแลหลังคลอด อย่างน้อย 3 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ จำนวน 115 ร้อยละ 80.99 (สูงกว่าตัวชี้วัดมากกว่าร้อยละ 80) และไม่พบรายงานมารดาตายจากภาวะแทรกซ้อนที่พบขณะคลอด ในปี 2567 มีเด็กเกิดจำนวน 136 คน ไม่พบทารกคลอดตาย พบจำนวนเด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 17 คน ร้อยละ 12.50 ซึ่งอาจเป็นปัจจัยส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ สติปัญญา และการเรียนรู้ของเด็กต่ำไปด้วย จะเห็นได้ว่ายังพบปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการเสียชีวิตทั้งแม่และลูกอยู่ ประกอบกับหญิงตั้งครรภ์รายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี และจากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ ในปี 2567 มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเด็กอายุครบ 1 ปี จำนวน 92 คน มีความครอบคลุมวัคซีนตามอายุ จำนวน 63 คน ร้อยละ 68.48 ซึ่งต่ำกว่าตัวชี้วัดที่ต้องผ่านร้อยละ 80 และมีจำนวนกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเด็กอายุครบ 2 ปี จำนวน 101 คน มีความครอบคลุมวัคซีนตามอายุ จำนวน 75 คน ร้อยละ 74.26 ซึ่งต่ำกว่าตัวชี้วัดที่ต้องผ่านร้อยละ 80ซึ่งอาจส่งผลต่อการระบาดของโรคไอกรนที่กำลังระบาดในช่วงปีงบประมาณ 2567 ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ตามมาตรฐานจาก จนท. สาธารณสุข
  1. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทุกคนพร้อมสามีหรือญาติได้รับการอบรมให้ความรู้โรงเรียนพ่อแม่อย่างน้อย 1 ครั้ง
  2. หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับบริการฝากครรภ์ ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์  (Early ANC) มากกว่าร้อยละ 80
  3. หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์ อย่างน้อย 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ มากกว่าร้อยละ 80
1.00
2 2. เพื่อให้หญิงคลอดได้รับบริการดูแลหลังคลอด ตามมาตรฐานจาก จนท. สาธารณสุข
  1. หญิงคลอดได้รับบริการดูแลหลังคลอด อย่างน้อย 3 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ มากกว่าร้อยละ 80
1.00
3 3. เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการฉีดวัคซีนในเด็กอายุครบ 0-2 ปี มากกว่าร้อยละ 85
  1. เด็กอายุครบ 1 ปี มีความครอบคลุมวัคซีน (fully immunized) มากกว่าร้อยละ 80
  2. เด็กอายุครบ 2 ปี มีความครอบคลุมวัคซีน (fully immunized) มากกว่าร้อยละ 80
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 14,250.00 0 0.00
1 พ.ค. 67 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ 150 14,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ และเกิดความตระหนักในการเข้ารับการตรวจครรภ์โดยบุคลากรสาธารณสุข ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ลดภาวะเสี่ยงในช่วงตั้งครรภ์ได้ตลอดจนถึงคลอด
  2. หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยบุคลากรสาธารณสุข ลดภาวะเสี่ยงของแม่และทารกหลังคลอดมากขึ้น
  3. ความครอบคลุมในการฉีดวัคซีนในเด็กอายุครบ 0-2 ปี เพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 14:21 น.