กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพตำบลท่าสาป
รหัสโครงการ 67-L8412-04-010
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 14,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนูฮารยาตี มะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.538,101.235place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพโดยตรง ประกอบด้วยอาหาร ยา เครื่องสำอาง อาหารเสริม เป็นต้น แม้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ล้วนมีมาตรการภาครัฐสำหรับควบคุมคุณภาพมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่ก็มีรายงานการตรวจพบสารอันตรายสารห้ามใช้หรือสิ่งควบคุมมาตรฐานเกินกำหนดในผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆมาโดยตลอด สอดคล้องกับอุบัติการณ์ของโรคและภาวะขาดพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นกับคนไทย ล้วนมีความเกี่ยวเนื่องกับพิษภัยและผลกระทบจจากสิ่งอันตรายเหล่านั้น         งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่นอาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้นซี่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพหล่าวนี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน  เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบ เจือปนสารอันตรายลงไป หรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นร้านที่ผู้บริโภค จับจ่ายใช้สอยและซื้อสินค้ามากที่สุด  เป็นร้านที่อยู่ในหมู่บ้านสะดวกในการซื้อสินค้า เป็นร้านจำหน่ายสินค้าที่หลากหลายชนิด เช่น ยา เครื่องสำอาง อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป บุหรี่ ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค  ตรวจสอบเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ  ตลอดจนพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน  เพื่อเป็นการพัฒนาสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค  ให้เข้าใจถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารปลอดภัยร่วมกับคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคระดับตำบล         โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป จัดทำแผนดำเนินการป้องกันแก้ปัญหานี้อย่างต่อเนื่อง จาการสำรวจร้านค้าในชุมชน ปีงบประมาณ 2566 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป มีร้านชำจำนวน 13 ร้าน ร้านอาหาร 8 ร้าน พบร้านขายของชำจำหน่ายขนมหมดอายุเสื่อมสภาพไม่มีฉลากอย.จำนวน4ร้าน พบผลิตภัณฑ์ ไม่มีวันเดือนปีที่ผลิต จำนวน 2 ร้าน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป จึงได้ดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนด้วยพลังของชุมชน เป็นระบบเครือข่าย และคณะทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่เฝ้ารังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น ยา อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัย การโฆษณาชวนเชื่อ โอ้อวดสรรพคุณเกินความจริง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพตำบลท่าสาป เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งในชุมชน โรงเรียนขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ รู้จักเลือกบริโภคสินค้าที่ได้มาตรฐาน นำไปแก้ไขปัญหาในชุมชน ทำให้เกิดการเฝ้าระวังความปลอดภัย ส่งเสริมการดำเนินงานเฝ้าระวังและวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกับชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน

 

2 2 เพื่อให้อสม แกนนำเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนมีความรู้ ในการใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์โดยใช้ชุดทดลองอย่างง่ายของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

 

3 เพื่อให้ร้านค้า ร้านชำ จำหน่ายอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพถูกต้องตามหลักองค์การอาหารและยากระทรงสาธารณสุข

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 จัดอบรม(16 พ.ค. 2567-21 ส.ค. 2567) 14,750.00            
รวม 14,750.00
1 จัดอบรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 95 14,750.00 0 0.00
23 เม.ย. 67 - 16 พ.ค. 67 ตัวแทนร้านค้า อสม. แกนนำเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ป่วยเรื้องรัง 60 10,500.00 -
23 เม.ย. 67 จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 35 4,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ชุมชนมีเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน 2 ร้อยละ 80 ของแกนนำเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์โดยใช้ชุดทดสอบอย่างง่ายของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้อย่างถูกต้อง 3 ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพได้รับการตรวจแนะนำโดยแกนนำเครือข่ายเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร ยา ที่ถูกต้องตามหลักองค์การอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 14:23 น.