กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.ร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ L3332
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านนาปะขอ
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 26,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านนาปะขอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านนาปะขอ
ละติจูด-ลองจิจูด 7.435,100.197place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ มีการระบาดต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๖๖ ได้ทวีความรุนแรงและมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ทำให้มีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออก ทุกกลุ่มอายุและทุกวัย โดยคาดว่าจะมีจานวนผู้ป่วยสูงขึ้นตลอดปี หากไม่มีการเร่งรัดป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเป้าหมายหลักคือ ต้องร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี ๒๕๖๖ ของจังหวัดพัทลุง พบผู้ป่วยสะสมโรคไข้เลือดออกสะสม จำนวน ๒,๒๐๐ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๔๑๙.๒๘ ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ๑ ราย อัตราตายเท่ากับ ๐.๑๙ ต่อประชากรแสนคน และ จากระบบรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาอำเภอบางแก้ว พบผู้ป่วยสะสมโรคไข้เลือดออกสะสม จำนวน 163 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 612.78 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย อัตราตายต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 3.76 อัตราผู้ป่วยตายเท่ากับร้อยละ 0.61 โดยพบตำบลที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคือตำบล ท่ามะเดื่อ อัตราป่วยเท่ากับ 750.03 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ ตำบลนาปะขอ, ตำบลโคกสัก, อัตราป่วยเท่ากับ 605.59 , 507.67 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ มีแนวโน้มการระบาดของโรคกระจายไปทุกพื้นที่ในเขตอำเภอบางแก้ว และเมื่อเทียบกับอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๖๕ อัตราป่วยเท่ากับ ๑๕๓.๙๐ ต่อประชากรแสนคน จะเห็นได้ว่ามีอัตราป่วยที่เพิ่มขึ้น
      จากปัญหาดังกล่าว ประชาชน แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวและอสม.หมู่ที่ ๒,๔,๕,๗ และหมู่ที่ ๑๒ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยมีความเห็นร่วมกันที่ จะให้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว เป็นผู้มีบทบาทกระตุ้นเตือนชุมชนและร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในชุมชน และให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาไข้เลือดออกในพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงได้ทำโครงการ อสม.ร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

1.ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

2 2.เพื่อให้ชุมชนดำเนินกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

2.ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่

3 3.เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่

3.มีการเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่

4 4.เพื่อลดค่า HI CI ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือเท่ากับศูนย์

4.ค่า HI CI ผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือเท่ากับศูนย์

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๒.ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่ ๓.สามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 14:27 น.