กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเชิงบูรณาการโดยใช้สวนสนุกสามวัยเป็นฐาน ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 66-L7889-03-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลตำบลปริก
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 69,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชาญณรงค์ เพ็ชรจูด ประธานคณะกรรมการฝ่ายดำเนินงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการเทศบาลตำบลปริก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาล ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล ผู้สูงอายุ คือ ปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน อีกทั้งยังเป็นผู้มีความรู้ มีทักษะ อนุรักษ์และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย ซึ่งผู้สูงอายุมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้แก่ประชากรต่างรุ่น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังที่มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยทำงาน จะต้องให้ความสำคัญในการยกย่อง ให้การดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพจิต สุขภาพกายที่ดี และช่วยประคับประคองในวัยที่ผู้สูงอายุมีความเสื่อมถอยทางด้านร่างกาย เป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ปัจจุบันเทศบาลตำบลปริก มีผู้สูงอายุ 1,0๗๐ คน จากประชากรทั้งหมด 6,4๓๖ คน คิดเป็นร้อยละ 16.๖๓ ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๗) ซึ่งกล่าวได้ว่า เทศบาลตำบลปริก เป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) สังคมที่มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน มีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ ๑๐ ขึ้นไป(นิยามจาก United Nations World Population Ageing)

เทศบาลตำบลปริก มีพื้นที่สาธารณะ (Open Space) สำหรับให้คนทุกกลุ่มวัย ใช้เป็นพื้นที่ในการพัฒนาตนเอง ทั้ง ๕ มิติ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ปัญญา และสิ่งแวดล้อม พื้นที่ดังกล่าว คือ สวนสนุกสามวัย (ใจเดียวกัน) มีฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ และเป็นนวัตกรรมในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทุกช่วงวัย ได้แก่ ฐานที่ ๑ ลานปิยะมิตรอหิงสา ฐานที่ ๒ ศาลาสร้างสุข ฐานที่ ๓ สระเล่นนำเด็ก ฐานที่ ๔ ค่ายกลสไปเดอรแมน ฐานที่ ๕ ย่ำแดนยั่วประสาท ฐานที่ ๖ ยืดยาดขยับกาย สบายชีวี ฐานที่ ๗ วารีบำบัด และมีสวนสมุนไพร 1 อปท. 1 สวนสมุนไพร ที่สอดรับกับนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และการใช้สมุนไพรให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันในแง่ของการแปรรูปเป็นอาหารและการใช้บำบัดอาการเจ็บป่วย พื้นที่เหล่านี้ วัยเด็ก วัยทำงาน และผู้สูงอายุสามารถใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมในหลากหลายรูปแบบ เพื่อส่งเสริมให้มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี ส่งเสริมการร่วมกลุ่มทำกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ สอดคล้องกับมติที่ประชุม “เวทีประชาคมเพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม” ระหว่างวันที่ ๒๐ - ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ที่เสนอให้มีการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ โดยการบูรณาการฐานต่าง ๆ ของสวนสนุกสามวัยมาใช้ในการออกแบบกิจกรรมที่มีความหลากหลาย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว (Wellness Plan)เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุและคนทุกกลุ่มวัย เพื่อให้ผู้สูงอายุและบุคคลทุกกลุ่มวัยได้เข้าถึง ทำความเข้าใจข้อมูลสุขภาพ กลั่นกรอง ประเมิน และตัดสินใจ เพื่อการนำข้อมูลไปใช้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลือกใช้บริการและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างเหมาะสม โดยได้กำหนดแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว รายบุคคลไว้ 6 ประเด็น ได้แก่ ด้านโภชนาการ ด้านการเคลื่อนไหว ด้านสุขภาพช่องปาก ด้านสมองและการนอนหลับ ด้านความสุข (ภาวะซึมเศร้า) และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งแผนส่งเสริมสุขภาพทั้ง 6 ประเด็นนี้ผุ้สูงอายุที่มีสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ เป็นโรคเรื้อรัง หรือเป็นกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ไม่สามารถที่จะดูแลตนเองได้เต็มที่ จะต้องพึ่งพาอาศัยสมาชิกในครอบครัว ที่มีทั้งวัยเด็ก เยาวชน และวัยทำงานในการการดูแลและประคับประคอง ในการนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีตามแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว (Wellness Plan) ร่วมกับการใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะ “สวนสนุกสามวัย (ใจเดียวกัน)” ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลตำบลปริก จึงกำหนดจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเชิงบูรณาการโดยใช้สวนสนุกสามวัย ปีงบประมาณ 256๗ ขึ้น โดยในปีงบประมาณที่ผ่านได้มีการนำร่องนำใช้แนวทางของแผนส่งเสริมสุขภาพดีชะลอชรา ชีวายืนยาว (Wellness Plan) มาปรับใช้กับกลุ่มแกนนำผู้สูงอายุแล้ว สำหรับในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ได้มีการนำแผนสุขภาพดังกล่าวมาปรับใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลสุขภาพที่เหมาะสมให้แก่ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลปริก ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี ลดภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคต่าง ๆ และมีสุขภาพกายและจิตที่ดีอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ผู้สูงอายุมีสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและคุณภาพชีวิตที่ดี

0.00
2 เพื่อส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ

วัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนวัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตร่วมกัน

กลุ่มเป้าหมายวัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 69,000.00 0 0.00
1 - 31 พ.ค. 67 ฟื้นฟูความรู้ 6 ด้าน ตามแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว (Wellness Plan) -กลุ่มเป้าหมาย70 คน (ผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง CG อสม. จิตอาสา สภาเด็กและเยาวชน) 0 15,000.00 -
1 - 30 มิ.ย. 67 ส่งเสริมการออกกำลังกายและนันทนาการส่งเสริมสุขภาพจิต-กลุ่มเป้าหมาย 150 คน (กลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 วัย) 0 28,000.00 -
1 - 31 ก.ค. 67 การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโดยใช้สมุนไพร -กลุ่มเป้าหมาย 150 คน (กลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 วัย) 0 25,500.00 -
1 - 30 ก.ย. 67 สรุปจัดทำรูปเล่มและรายงานผล 0 500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุทุกชุมชนมีการวมกลุ่มในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง

  2. ประชาชนวัยเด็ก วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุมีการพึ่งพาอาศัยกันในกสนส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต

  3. สมาชิกในครบครัวทุกช่วงวัยมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคูภาพชีวิตผู้สูงอายุ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 15:14 น.