กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนน่าอยู่ ปลอดโรค ปลอดขยะ ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L8402-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคูหาใต้
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 39,712.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประกอบ จันทสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาโลกร้อน ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของเราทุกคน อาทิ ขยะที่เกิดจากการบริโภค การส่งเสริมการท่องเที่ยว การเติบโตของธุรกิจไรด์เดอร์หรือบริการส่งอาหาร/สินค้า บริการ นโยบายส่งเสริมการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ฯลฯ แม้ว่าขยะบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก เช่น กล่องใส่อาหาร กล่องโฟม ถุงหูหิ้ว หลอดดูด แก้วน้ำ ฯลฯ ซึ่งเป็นขยะประเภทใช้ครั้งเดียวที่สามารถนำมารีไซเคิลได้จะมีแนวโน้มลดลงในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 แต่สัดส่วนของขยะที่กำจัดไม่ถูกต้องกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้น การจัดการขยะของภาครัฐเพื่อแก้ปัญหานั้น คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินจัดทำ Road Map การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ 2561 -2573 โดยกำหนดให้มีการยกเลิกการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว 4 ชนิดภายในปี 2565 ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้ว กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติกและหลอดพลาสติก รวมทั้งการนำพลาสติกกลับมารีไซเคิลเพื่อส่งเสริมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) โดยได้ทดลองโครงการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ ทั้งระดับกระทรวง กรมและระดับจังหวัด ซึ่งในปี 2565 กำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน คือ การลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ส่งกำจัดร้อยละ 30 ได้แก่ จำนวนถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบาง 36 ไมครอน และจำนวนแก้วพลาสติกบางกว่า 100 ไมครอน ใช้ครั้งเดียวเป็นศูนย์ (กล่าวคือไม่มีการใช้ถุงพลาสติกและแก้วพลาสติก 100 เปอร์เซ็นต์) และไม่มีการใช้โฟมบรรจุอาหารในหน่วยงาน โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอร่างแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติกระยะที่ 1 พ.ศ 2563-2565 ภายใต้ Road Map การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ 2561 – 2573 และยังมีเป้าหมายการนำพลาสติกกลับไปใช้ประโยชน์และเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2565 ได้แก่ ถุงพลาสติกชั้นเดียว ขวดพลาสติก ฝาขวด แก้วพลาสติก กล่องอาหาร ช้อน ส้อมและมีดที่ทำจากพลาสติก ดังนั้นหากดูจากข้อมูลการกำจัดขยะ และเป้าหมายของรัฐบาลจะพบว่าการให้ยกเลิกการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว 4 ชนิดภายในปี 2565 ในหน่วยงานภาครัฐ 6 เดือนแรก ยังไม่สามารถบรรลุได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้การลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ส่งกำจัดร้อยละ 30 ได้แก่ จำนวนถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบางและจำนวนแก้วพลาสติกใช้ครั้งเดียวเป็นศูนย์ และไม่มีการใช้โฟมบรรจุอาหารในหน่วยงาน อาจเกิดขึ้นตามแผนได้ยากหากยังมีการอนุญาตให้ผู้ประกอบการในหน่วยงานใช้ภาชนะที่ทำจากพลาสติก หรือไม่มีมาตรการทางกฎหมายในการจำกัดปริมาณการใช้ เช่น ปริมาณพลาสติกที่ใช้ได้ต่อวัน การเสนอให้มีบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกที่สั่งห้าม บทลงโทษในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการ การเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียว รวมทั้งงบประมาณสำหรับจัดหาพลาสติกที่ย่อยสลายได้ (composable) ประกอบกับอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ มาตรา ๕๐ ได้กำหนดให้เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ตามข้อ (๓) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางโดยมุ่งเน้นการใช้หลักการ 3Rs (ใช้น้อย, ใช้ซ้ำ และแปรรูปมาใช้ใหม่) มุ่งเน้นการจัดการขยะต้นทางในชุมชน นอกจากนี้ขยะยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง, หนู และแมลงสาบ เป็นต้น ซึ่งเป็นบ่อเกิดการเกิดโรคติดต่อในคนและสัตว์ ปัจจุบันมีอัตราการเพิ่มของปริมาณขยะจากครัวเรือน สาเหตุหลักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในตำบลคูหาใต้ ซึ่งจะเห็นว่าขยะมูลฝอยมีอัตราเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตแบบวัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร มีความสำคัญและจำเป็น ทำให้มีวัสดุประเภทพลาสติกเกิดขึ้นมากมาย และมีความหลากหลายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด ถุงพลาสติกทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้นทั้งต่อผู้ขายและผู้ซื้อ     ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคูหาใต้ จึงเห็นความสำคัญในการกำจัดขยะจากต้นทางโดยการส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีการเผาขยะทั่วไปโดยการใช้เตาเผาขยะ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีการกำจัดขยะจากต้นทางโดยการเผาขยะจากเตาเผาขยะอย่างถูกวิธี เพื่อลดแหล่งรังโรคซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคติดต่อในคนและสัตว์ และเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีการกำจัดขยะจากต้นทางโดยการเผาขยะจากเตาเผาขยะอย่างถูกวิธี

ประชาชนในพื้นที่มีการกำจัดขยะจากต้นทางโดยการเผาขยะจากเตาเผาขยะอย่างถูกวิธี ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อลดแหล่งรังโรคซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคติดต่อในคนและสัตว์

ลดแหล่งรังโรคซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคติดต่อในคนและสัตว์ ร้อยละ 80

80.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี

ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ   1. ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ   2. เขียนโครงการฯ เพื่ออนุมัติจากผู้บริหาร ขั้นดำเนินการ   1. จัดอบรมประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยงโดยการให้ความรู้ เรื่องการกำจัดขยะจากต้นทางโดยการใช้เตาเผาขยะ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้ความเข้าใจในการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี
  2. สาธิตการเผาขยะโดยใช้เตาเผาขยะ
ขั้นประเมินผล   1. สรุปผลการดำเนินโครงการ และรายงานผลต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลคูหาใต้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราการเกิดขยะในชุมชน   2. ทำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างถูกต้อง เหมาะสม   3. ประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการจัดการขยะในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 15:14 น.