กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนท่าสาปร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L8412-04-014
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่าสาป
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 24,325.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซาวียะห์ มูซา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.538,101.235place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างด ปัจจุบันไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญมีสถิติจำนวนผู้ป่วยจากโรคไข้เลือดออกมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งในบางรายอาจมีอาการไข้เล็กน้อยถึงปานกลาง แต่อาการที่ร้ายแรงก็สามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและขยายพื้นที่การระบาดออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น มีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะน้ำขัง การคมนาคมที่สะดวกปัจจัยเหล่านี้ทำให้ การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่เป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ชุกชุม และมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน ซึ่งมีผลต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกด้วย สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 3 ปีย้อนหลัง (ปี พ.ศ. 2565-2567) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 0,19 และ 3 คน ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย 0, 230.83 และ 40.72 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ พบว่าอัตราป่วยในปี 2566 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี 2565 และลดต่ำลงในปี 2567 แต่ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าสาป ได้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงจัดทำโครงการชุมชนท่าสาปร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก ปี เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนทุกกลุ่มวัยในตำบลท่าสาป เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 . เพื่อสร้างแกนนำนักเรียน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และให้ความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

 

2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนทุกกลุ่มวัยในตำบลท่าสาป

 

3 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนตนเอง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่แกนนำนักเรียนและรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน(16 พ.ค. 2567-16 พ.ค. 2567) 0.00          
2 2 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน สถานที่ราชการ และศาสนสถาน กลุ่มเป้าหมาย อสม.ตำบลท่าสาป(16 ก.ค. 2567-19 ก.ย. 2567) 0.00          
รวม 0.00
1 จัดอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่แกนนำนักเรียนและรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 2 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน สถานที่ราชการ และศาสนสถาน กลุ่มเป้าหมาย อสม.ตำบลท่าสาป กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 สร้างแกนนำนักเรียนในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง 2 สามารถลดอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกของประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่ตำบลท่าสาป 3 ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และเกิดความ  ร่วมมือระหว่างประชาชน และองค์กรในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 15:39 น.