กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในเด็กนักเรียนเทศบาลตำบลปริก
รหัสโครงการ 67-L7889-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาลตำบลปริก
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 พฤษภาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 108,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปราณีต บินสัน ครู รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลตำบลปริก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนเทศบาลตำบลปริก
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 68 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 72 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) อาหารมีความสำคัญในทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และเป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนา อาหารจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับวัยนี้ ดังนั้น ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง ๕ หมู่ซึ่งในแต่ละหมู่ต้องมีความหลากหลายและปริมาณให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสม
เด็กวัยเรียนเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว การได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือขาดสารอาหารจะมีผลกระทบต่อเด็กได้ ผลกระทบที่พบประกอบด้วย ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านสังคมและจิตใจ ด้านการเรียน และด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาทุพโภชนาการในเด็กนักเรียนนั้น พบว่ามี ๓ ปัจจัย ได้แก่ ส่วนบุคคล พฤติกรรม และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ทั้งปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนที่มีส่วนทำให้เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จากการศึกษาข้อมูลสุขภาพของนักเรียน ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ และบริบทสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนเทศบาลตำบลปริก พบว่าโรงเรียนมีปัญหาด้านสุขภาพและพฤติกรรมที่เสี่ยงของนักเรียนที่จะต้องแก้ไขอีกมาก และในปัจจุบันนั้นพบว่ามีนักเรียนที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ ๒๓.๖๙ ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ซึ่งเกิดจากนักเรียนยังไม่เห็นถึงความสำคัญของการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยของตนเองทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งยังมีปัญหาโรคผอมเกินไป การเลือกซื้ออาหารที่ไม่มีประโยชน์ และขาดการออกกำลังกาย รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมรอบๆโรงเรียนที่เอื้อต่อการทำให้นักเรียนมีปัญหาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่เกิดจากการขาดสารอาหาร การรับประทานอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ถึงจะมีจำนวนการเกิดปัญหาโรคผอมเกินไปไม่มากแต่ถ้าหากไม่มีการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กไม่ได้เต็มศักยภาพ
จากผลการสำรวจความครอบคลุมในการดูแลเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษและด้อยโอกาส ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ช่วงอายุ ๐-๕ ปี พบว่ามีจำนวน ๙๘ คน ใน ๘๐ ครอบครัว แบ่งเป็นช่วงอายุ ๐-๒ ปี จำนวน ๒๙ คน และ ช่วงอายุ ๒-๕ ปี จำนวน ๖๙ คน โดยในช่วงอายุ ๒-๕ ปี ที่อยู่ในระบบการศึกษา มีจำนวน ๕1 คน เป็นนักเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลปริกจำนวน ๑๖ คน และนักเรียนโรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลปริก จำนวน ๓๕ คน ผลสำรวจพบว่านักที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ จำนวน 21 คน และนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ขาดสารอาหาร จำนวน ๑๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๒5.49และเสี่ยงขาดสารอาหาร จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 13.72 จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน เพื่อแก้ปัญหาและเสริมสร้างปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญผู้ปกครองของเด็กนักเรียนจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมของนักเรียนด้วย จึงได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในเด็กนักเรียนเทศบาลตำบลปริก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้เรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ ต่ำกว่าเกณฑ์ ได้รับความรู้ในด้านการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ : ผู้เข้าร่วมเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมร้อยละ ๑๐๐

ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ : นักเรียนและผู้ปกครองนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพ และนักเรียนมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อตนเอง

0.00
2 เพื่อเปรียบเทียบภาวะโภชนาการ ต่ำกว่าเกณฑ์ของผู้เรียน ก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ มีจำนวนลดลง

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ : นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ได้รับการประเมินติดตาม ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ทุกเดือน เดือนละ ๑ ครั้ง ร้อยละ ๑๐๐

ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ : นักเรียนมีภาวะการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น

0.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้เรียนที่มีภาวะโภชนาการ ต่ำกว่าเกณฑ์ และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาภาวะโภชนาการ ต่ำกว่าเกณฑ์เพิ่มขึ้น

ผลลัพธ์เชิงปริมาณ : นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการ ต่ำกว่าเกณฑ์ ได้รับอาหารเช้าเสริมก่อนเข้าเรียนทุกวัน ร้อยละ ๑๐๐ ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ

ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ : ปัญหานักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ มีจำนวนลดน้อยลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 108,800.00 0 0.00
30 พ.ค. 67 - 30 เม.ย. 67 กิจกรรมจัดอบรม 0 5,100.00 -
30 พ.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 ประเมินติดตามชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงของผู้เรียนที่มีภาวะโภชนาการ ต่ำกว่าเกณฑ์ ทุกเดือน เดือนละ ๑ ครั้ง 0 0.00 -
2 มิ.ย. 67 - 30 ส.ค. 67 จัดอาหารเช้าเสริมก่อนเข้าเรียน ให้กับผู้เรียน ที่มีภาวะโภชนาการ ต่ำกว่าเกณฑ์ช่วงชั้นอนุบาล และ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ จำนวน 68 คน ทุกวัน 0 103,700.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ มีความรู้ในด้านการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย
  2. นักเรียนได้รับสารอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 10:32 น.