กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมอยาน้อยสืบสานภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทย ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L2503-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านซีโป
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2567
งบประมาณ 11,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวบัลกีส มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.291,101.641place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine) เป็นภูมิปัญญาไทยในการดูแลรักษาสุขภาพมาเป็นระยะเวลานาน เป็นระบบการแพทย์ที่เกิดจากการเรียนรู้ การสั่งสมความรู้ ประสบการณ์ การถ่ายทอดและการผสมผสานกับการแพทย์ท้องถิ่นและระบบการแพทย์อื่นที่เข้ามาสู่สังคมไทยในสมัยต่างๆ จนกลายมาเป็นระบบการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยเน้นความสมดุลของธาตุภายในร่างกายและความสมดุลภายใน การส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกหลานในครัวเรือนได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตไทยโดยใช้การแพทย์แผนไทยหรือใช้ภูมิปัญญา เช่น การใช้อาหารพืชผักสมุนไพร การใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขในการรักษาเบื้องต้น การบริหารด้วยท่าฤาษีดัดตน มาปฏิบัติดูแลสุขภาพคนในครัวเรือนก็จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ครอบครัวมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ลดปัญหาการใช้ยาแผนปัจจุบัน ขณะเดียวกันภูมิปัญญาไทยในอดีตมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย ก็มีการใช้ต่อเนื่องกันหลายชั่วอายุคน ได้พิสูจน์ให็เห็นแล้วว่าสามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้อย่างดี ทั้งยังไม่มีอาการข้างเคียง และยังเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนและประเทศชาติอีกด้วย ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้าน เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนไทยตั้งแต่บรรบุรุษมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และสามารถต่่อสู้กับโรคภัยต่างๆได้ แต่ในปัจจุบันภูมิปัญญาการแพทย์อันมีค่าเหล่านี้ได้ลางเลือนไปกับกาลเวลา ประชาชนต้องพึ่งหมอและโรงพยาบาลมากขึ้น ขาดการดูแลสุขภาพโดยการพึ่งพาตนเอง การแพทย์แผนไทยเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้กับคนในชุมชนได้แบบปฐมภูมิ มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย ประชาชนสามรถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น ดังนั้น จึงได้ทำโครงการ '' หมอยาน้อยสืบสานภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทย '' โดยมีการอบรมการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสมุนไพร การทำลูกประคบสมุนไพร จัดอบรมพัฒนาศักยาภาพเด็กนักเรียนเรื่องการใช้สมุนไพรใกล้ตัวรักษาโรค ตำรับยาสมุนไพรรักษาอาการป่วยเบื้องตน ฯลฯ และวิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้นตามแนวทางการแพทย์แผนไทย เช่น อาหารเพื่อสุขภาพ การนวด การใช้ท่าฤาษีดัดตน เป็นต้น ช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ด้านภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรส่งเสริมอนุรักษ์สมุนไพรไทยในการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาโรค การดูแลสุขภาพและการทำผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเด็กวัยเรียนนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและทำเป็นอาชีพในอนาคตต่อไป คนในชุมชนมีความเข้าใจในการแพทย์แผนไทย มองเห็นคุณค่าของยาไทย สมุนไพรไทย ที่มีอยู่มากมายในชุมชนของตนเอง และรู้จักเลือกสรรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ มีแนวทางในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวตามแนวทางการแพทย์แผนไทยมีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้า ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นการดูแลสุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษา มีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ตลอดจนการรักษทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี จากเหตุผลข้างต้น งานการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านซีโป ได้เล็งเห็นความสำคัญ และต้องการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีความรู้ด้านภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรส่งเสริมอนุรักษ์สมุนไพรไทยในการนำสมุนไพรในการนำสมุนไพรไทยมาใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาโรค สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ จึงได้จัดทำโครงการ "หมอยาน้อยสืบสานภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทย" เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีความรู้ด้านภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรส่งเสริมอนุรักษ์สมุนไพรไทยใจการนำสมุนไพรไทยมาใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาโรค ๒. เพื่อนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยไปเผยแพร่ในกลุ่มเด็กนักเรียน สามารถนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้ ๓.เพื่อให้กลุ่มเด็กนักเรียน สามารถดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลใกล้ชิดด้านการเจ็บป่วยเล็กๆน้และสามารถใช้สมุนไพรได้อย่างถูกต้อง ๔. เพื่อถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย ได้แก่ กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน การสาธิตทำน้ำสมุนไพร การสาธิตทำลูกประคบสมุนไพร การบริหารร่างกายด้วยท่าฤๅษีดัดตน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กนักเรียนมีความรู้ด้านภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรและสามารถส่งเสริมอนุรักษ์สมุนไพรไทยในการนำสมุนไพรไทยมาใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาโรค ๒. เด็กนักเรียน สามารถนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ๓. เด็กนักเรียน สามารถดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลใกล้ชิดด้านการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆและสามารถใช้สมุนไพรได้อย่างถูกต้อง ๔. เด็กนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2567 10:37 น.