กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน สารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร อ.เมือง จ.ปัตตานี (ประเภทที่1)
รหัสโครงการ 67-L7884-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลปัตตานี
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,710.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางน้ำฝน พรหมเลข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวเนื่องกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของกลุ่มแรงงานนอกระบบ พบผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโดยมีสาเหตุจากการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน 3,067 ราย เสียชีวิต 407 ราย เบิกจ่ายค่ารักษากว่า 14.64 ล้านบาท แยกผู้ป่วยตามประเภทของสารเคมีที่ได้รับ ดังนี้ 1.ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต ร้อยละ 23 2.ยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าเชื้อรา ร้อยละ 43.6 3.สารเคมีทางการเกษตรกรประเภทอื่นๆ ร้อยละ 33.4 (ข้อมูลผู้เข้ารับบริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2562) ซึ่งหากรวมจำนวนผู้เสียชีวิตที่มีสาเหตุจากการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในช่วง 4 ปี ตั้งแต่ปี 2559-2562 มีจำนวนถึง 2,193 ราย รวมถึงงบประมาณค่ารักษาพยาบาลกว่า 20 ล้านยาทต่อปี สะท้อนให้เห็นผลกระทบของการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชที่เกิดขึ้น (ข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)) สถานการณืการใช้สารเคมีทางการเกษตรกรของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นการบ่งชี้ว่าเกษตรกรของไทยมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นการใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็น หรืออีกนัยหนึ่งเป็นเพราะศัตรูพืชต่างๆมีการปรับตัวเพื่อต่อต้านสารเคมีทางการเกษตรกรมากยิ่งขึ้น แม้ว่าสารเคมีทางการเกษตรกรจะเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชอาหาร ช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องความเสียหายต่อผลผลิต ทำให้ผลิตภาพทางการเกษตรเพิ่มสูงขึ้น สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและเศรษฐกิจของประเทศ แต่การใช้สารเคมีที่มากเกินความจำเป็น และไม่ถูกต้องเหมาะสมจะทำให้เกิดผลกระทบด้านต่างๆมากมาย ทั้งในด้านสุขภาพของเกษตรกร ผู้บริโภค ด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านเศรษฐกิจของประเทศ ผลกระทบด้านสุขภาพและผู้บริโภค สามารถเกิดพิษจากการสัมผัสสารเคมีกำจักศัคตรูพืช ได้ 2 แบบ คือ แบบเฉียบพลัน อาการจะเกิดขึ้นทันที เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเกร็ง กระตุก ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า แสบตา และแบบเรื้อรังเกิดจากการสัมผัสเป็นเวลานานและเกิดพิษสะสมจนก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาต่อสุขภาพ เช่น มะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังต่างๆ การเป็นหมัน การพิการของทารกแรกเกิด การสูญเสียการได้ยิน และการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมคือปัญหาการตกค้างของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม ซึ่งสาเหตุเกิดจากการแพร่กระจายของสารเคมีในระหว่างการฉีดพ่น เนื่องจากสารเคมีส่วนหญ่จะกระจายจากบริเวณของพืชที่ต้องการฉีดพ่นลงสู่พื้นและบางส่วนระเหยอยู่ในอากาศทำให้มีการสะสมอยู่ในพื้นดินและน้ำ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงและสัตว์ในธรรมชาติ จะส่งผลให้เกิดการสะสมของสารเคมีในห่วงโซ่อาหารและทำให้สิ่งมีชีวิตในระบบห่วงโซ่อาหารทุกระดับได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ยังทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ในการช่วยทำลายแมลงศัตรูพืช เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียนหรือแมงที่ช่วยผสมเกสร เช่น ผึ้ง เป็นต้น การใช้สารเคมีทางการเกษตรยังเป็นพิษต่อไส้เดือนดิน ซึ่งเป็นสัตว์ที่ช่วยย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุในดินทำให้ดินอุดมสมบรูณ์และทำให้ดินโปร่งร่วนซุยอากาศถ่ายเทได้ดีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ คือความเสียหายต่อการส่งออก โดยวิกฤตสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการส่งออกสินค้าการเกษตรไปยังสหภาพยุโรปและส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังการส่งออกผักไทยไปยังประเทศอื่นๆ ซึ่งความเสียหายดังกล่าวยังส่งผลทางลบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ในฐานะผู้ส่งออกสินค้าทางการเกษตรและอาหารรายใหญ่ของโลก ในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการป้องกันผลกระทบสุขภาพเกษตรกรทั่วประเทศ ได้มอบสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม การควบคุมโรค เฝ้าระวังตรวจคัดกรองสุขภาพเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หากพบว่าผิดปกติ รีบให้คำแนะนำการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัยทันท่วงที ไม่ต้องรอให้มีอาการป่วยก่อน พร้อมตั้งคลินิกสุขภาพเกษตรกรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อดูแลสุขภาพเกษตรกรร่วมกับผู้นำชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็งในชุมชน ลดความเสี่ยงเกิดโรคในกลุ่มเกษตรกรให้ได้มากที่สุด และในปี 2562 ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการปรพกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 กำหนดให้ต้องรายงานโรคหรืออาการสำคัญของพิษจากสารกำจัดศััตรูพืช
  ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี 3 ตำบล ดังนี้ ตำบลสะบารัง ตำบลอาเนาะรู และตำบลจะบังติกอ มีกลุ่มอาชีพและผู้ประกอบการด้านการเกษตรกร จำนวน 6 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่เลี้ยงเดี่ยวและเพื่อน,กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านไร่ไม้ผลปัตตานี,กลุ่มวิสาหกิจชิวตี้ฟาร์ม,กลุ่มวิสาหกิจดีตานี และกลุ่มผู้ผลิตผักยกแคร่ เพื่อให้เกิดความปลอดในการทำงานต่อเกษตกรและความปลอดภัยในการบริโภคผลผลิตทางการเกษตรนั้น ทางกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลปัตตานี เล็งเห็นปัญหาและความสำคัญในการเข้าถึงดานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน จึงจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน เรื่องอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการป้องกันตนเองอย่างปลอดภัย และการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส เพื่อคัดกรองว่าในการทำงานที่เก่ยวข้องกับสารเคมีเกษตรกรนั้น มีความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศํตรูพืชในระดับใด แต่อาจยังไม่ส่งผลให้เกิดอาการแพ้พิษสารเคมีก็ได้ ซึ่งจากผลการคัดกรองความเสี่ยงจะทำให้เกษตรกรเกิดความตระหนัก และนำไปสู่การแนะนำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไม่ว่าจะเป็นการลด ละ เลิก การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การทำเกษตรอินทรีย์ หรือมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและสามารถป้องกันตนเองขณะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรที่มีผลต่อสุขภาพ 2. เพื่อเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของเกษตรกร 3. เพื่อให้เกษตรกรเกิดความรู้และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้อง
  1. ร้อยละ 90 กลุ่มเกษตรกร ทราบถึงสถาณการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง  2. เพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินงานตามยุทศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมโรคจาการประกอบอาชีพของเกษตรกร 3. เกษตกรมีความรู้ในการปลูกพืชปลอดสารพิษและวิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

จัดกิจกรรมอบรมและตรวจคัดกรองหาสารพิษตกค้างในเลือดให้กลุ่มเกษตรกรและตัวแทนชุมชนใกล้การทำเกษตกร อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 1. จัดอบรม สร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและป้องกันตนเองอย่างปลอดภัย (โดยนักวิชาการเกษตรกร) รายละเอียดเนื้อหา มีดังนี้ - ความหมายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช - ชนิดและความเป็นอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช - การป้องกันตนเองในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย - ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืช - คำแนะนำในการปฏิบัติตนหลังจากได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2. ประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้แบบ นบก.1-56 (โดยพยาบาลวิชาชีบและนักวิชาการสาธารณสุข กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลปัตตานี) 3. เจาะเลือดตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ด้วยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส (โดยพยาบาลวิชาชีพและนักวิชาการสาธารณสุข กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลปัตตานี) 4. จัดเวทีคืนข้องมูล ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนหลังจากได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และส่งต่อเกษตรกรที่ป่วยด้วยพิษสารกำจัดศัตรูพืชที่มีอาการรุนแรง (โดยนักวิชาการเกษตรกร ร่วมกับพยาบาลวิชาชีพและนักวิชาการสาธารณสุข กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลปัตานี)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตกรทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือด 2.ได้ข้อมูลภาวะสุขภาพของเกษตรกรใน อ.เมือง จ.ปัตตานี นำมาใช้ดำเนินงานตามยุทศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพทางเกษตรกร
  2. เกษตรกรมีความรู้ในการปลูกพืชปลอดสารพิษและวิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2567 10:53 น.